ผ้าคลุมไหล่แพรวา 11 ลาย ทอด้วยเทคนิคขิดและจกแบบละเอียดพิเศษ โดยใช้ลวดลายจากผ้าแส่ว ผ้าต้นแบบลวดลายที่บรรพบุรุษของชาวผู้ไทแต่ละบ้านทิ้งไว้เป็นมรดกให้ลูกหลานสืบทอดลายผ้านั้น ๆ เป็นการรวมลายต่างทั้งลายหลัก ลายคั่น ลายช่อปลายเชิง หลากหลายลวดลายเข้าไว้ด้วยกัน ผ้าคลุมไหล่แพรวาผืนนี้มีการจกลายมากถึง 11 ลาย ได้แก่ ดอกใบบุ่นก้านก่อง ดอกจันทร์กิ่ง ดอกนาคหัวซ้อง ดอกส้มป่อย นาคปรกแขน นาคหัวแตก ดอกกาบแปก นาคหกแขน ดอกช่อฟ้า มีลวดลายดอกใบบุ่นแบบมีช่อและไม่มีช่อ และอื่นๆ โดยในแต่ละช่องจะมีลวดลายที่แตกต่างกันออกไป โดยใช้ลายจากผ้าแส่วและใช้เทคนิคการจกแบบละเอียดพิเศษ เส้นไหมย้อมด้วยสีเคมีประกอบไปด้วย สีเหลือง สีม่วง สีเขียว สีน้ำตาล สีแดง สีส้ม สีเทา เป็นต้น ใช้เวลาในการทอ 10 เดือน ราคาจำหน่าย 150,000 บาท
เทคนิคที่ใช้ : การจก การขิด
การขิด คือ วิธีเก็บลายขิดบนผ้าผืนเรียบ ใช้ไม้เก็บขิด คัดเก็บขิดยกลาย โดยต้องนับจำนวนเส้นไหม แล้วใช้ไม้ลายขิดสายเป็นลายเก็บไว้ ในการทอเก็บลายจะแบ่งเป็นช่วง แต่ละช่วงเก็บลายไม่เหมือนกัน ส่วนที่อยู่ตรงปลายต่อกับผ้าเรียบ เป็นการเก็บขิดดอกเล็ก ส่วนต่อไปเป็นการเก็บขิดดอกใหญ่ เรียกว่า “ดอกลายผ้า” ใช้ไม้ในการเก็บลายต่างกัน
การจก คือ กรรมวิธียกเส้นด้ายยืน แล้วสอดเส้นไหมสีซึ่งเป็นเส้นพุ่งพิเศษเข้าไปในผืนผ้า ทำให้เกิดลวดลายผ้าที่ต้องการ
กระบวนการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (โดยละเอียด) :
แหล่งเรียนรู้/ชุมชนหัตถกรรมชุมชนหัตถกรรมทอผ้าแพรวาบ้านโพน
สถานที่