กำไลลายนะโม เป็นเครื่องประดับที่ใช้เนื้อเงิน 95 % สลักลายหลักเป็น “ลายนะโม” และตกแต่งด้านข้างเป็นลายดอกพุดตาน ถือเป็นเอกลักษณ์ของงานเครื่องถมเมืองนครฯ ที่นำเครื่องถมเงินสลักลวดลายไทย อาทิ ลายดอกพุดตาน มารวมกับการเม็ดนะโม หรือลายนะโม ซึ่งมาจากความเชื่อของเม็ดนะโมที่เจ้าเมืองนครฯ ในอดีต เคยทำพิธีโปรยเม็ดนะโมปลุกเสกคาถาจากพระเกจิอาจาย์เพื่อล้างสิ่งอัปมงคล โรคระบาด ความทุกข์ยากของประชาชนในเมืองนครฯ ในอดีต จนกลับมาเป็นปกติสุข จนความเชื่อสืบมาถึงปัจจุบัน จึงมีความเชื่อว่าใครที่สวมใส่เม็ดนะโมจะแคล้วคลาดปลอดภัย ร่มเย็นเป็นสุข
เทคนิคที่ใช้ : การถมเงิน
กระบวนการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (โดยละเอียด) :
ขั้นตอนการทำยาถม : ยาถมจะมีส่วนประกอบของตะกั่ว ทองแดง เนื้อเงิน และกำมะถัน เป็นสูตรลับเฉพาะของช่างแต่ละสำนักหรือช่างแต่ละบ้าน จากตำราการทำเครื่องถมโบราณกล่าวว่า “วัว 5 ม้า 6 บริสุทธิ์ 4 ผสมกันแล้วขัดด้วยกำมะถัน ได้ยาถมแล…” เคล็ดลับการทำยาถมที่สำคัญ คือ การหลอมส่วนประกอบทั้ง 4 ชนิด เข้าด้วยกันที่ความร้อน 700 องศาเซลเซียส ตลอดระยะเวลา 3-7 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ทำน้ำยาถม ในระหว่างการหลอมนั้นต้องค่อย ๆ คนยาถมเข้าด้วยกัน และทยอยใส่กำมะถันทีละนิด สังเกตสีของยาถมให้มีสีดำเสมอกัน ความดำจะขึ้นอยู่กับปริมาณกำมะถันที่ใช้ ยาถมที่ดีจะมีสีเหมือนปีกแมลงทับ มีความดำเงาเลื่อมสีม่วง จากนั้นปั้นเป็นก้อน ทิ้งให้เย็นเก็บไว้รอนำไปใช้ ซึ่งขั้นตอนการหลอมจะมีกลิ่นของกำมะถันแรงมาก จึงต้องหลอมในที่ที่ปลอดคน ห่างไกลชุมชน เช่น ทุ่งนา กำมะถันหรือที่โบราณเรียกว่า “สุพรรณถัน” จะมีลักษณะเป็นสีเหลือง ได้มาจากภูเขาไฟ สามารถหาได้ในไทย แต่ละชิ้นใช้เวลาทำ 1 เดือน
ขั้นตอนการสร้างสรรค์ชิ้นงาน :
สถานที่