ผ้าห่มสไบของชาวภูไท ทอตามแบบผ้าแส่วของบรรพบุรุษ ใช้สำหรับห่มเป็นสไบ ในอดีตเรียกผ้าเบี่ยง ทอด้วยเส้นไหมสีแดงย้อมจากครั่ง ลายหลักทอลวดลายนาคสี่แขน นาคสองแขน และลายดอกไม้ต่าง ๆ อาทิ ลายดอกส้มป่อย ลายคั่น เป็นลายงูลอย และลายช่อปลายเชิงเป็นลายช่อต้นสน โดยถอดแบบลายจากผ้าแส่ว ซึ่งเป็นผ้าที่ชาวผู้ไทใช้สำหรับเก็บลายต้นแบบที่มีการสืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ หรือแบบลายที่ชื่นชอบมาใช้บนผืนผ้าแส่วเพียงผืนเดียว เมื่อจะใช้ลายต่าง ๆ ในการสร้างสรรค์ผ้าแพรวา ผู้ทอจะใช้ผ้าแส่วเป็นต้นแบบ ใช้เทคนิคการทอแบบจก สลับขิด มีชายครุยหรือ “ยอย” บริเวณเชิงผ้าทั้งสองด้าน
เทคนิคที่ใช้ : การทอขิด และการทอจก
การขิด คือ วิธีเก็บลายขิดบนผ้าผืนเรียบ ใช้ไม้เก็บขิด คัดเก็บขิดยกลาย โดยต้องนับจำนวนเส้นไหม แล้วใช้ไม้ลายขิดสายเป็นลายเก็บไว้ ในการทอเก็บลายจะแบ่งเป็นช่วง แต่ละช่วงเก็บลายไม่เหมือนกัน ส่วนที่อยู่ตรงปลายต่อกับผ้าเรียบ เป็นการเก็บขิดดอกเล็ก ส่วนต่อไปเป็นการเก็บขิดดอกใหญ่ เรียกว่า “ดอกลายผ้า” ใช้ไม้ในการเก็บลายต่างกัน
การจก คือ กรรมวิธียกเส้นด้ายยืน แล้วสอดเส้นไหมสีซึ่งเป็นเส้นพุ่งพิเศษเข้าไปในผืนผ้า ทำให้เกิดลวดลายผ้าที่ต้องการ
กระบวนการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (โดยละเอียด) :