ต้นกระจูดขึ้นในป่าพรุ ในสมัยก่อนได้นำต้นกระจูดมาใช้ประโยชน์ โดยการนำมาจักรสานด้วยมือ เป็นเครื่องใช้ เช่น เสื่อปูนอน เสื่อตากข้าวเปลือก ของใช้ในครัว ส่วนที่เหลือก็นำไปขายเพื่อเป็นรายได้กับครัวเรือน บ้านเนินธัมมัง ผู้คนส่วนใหญ่ มีอาชีพหลักคือการทำนา, ตัดไม้, เผาถ่าน, เลี้ยงสัตว์
เมื่อ พ.ศ. 2536 สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร ณ.บ้านเนินธัมมัง และพบหลายปัญหาของราษฎรในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียง เพราะพื้นที่เป็นป่าพลุประสบปัญหาน้ำท่วมขังเป็นประจำทุกปี สภาพดินเป็นเปรี้ยว ทำให้ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรไม่ได้ผลเท่าที่ควร เป็นผลให้ราษฎรเดือดร้อน
สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ จึงได้มีพระเสาวนีย์ให้จัดตั้งโครงการศิลปาชีพ ขึ้นมาซึ่งได้ทรงเห็นว่าในพื้นที่ ที่มีต้นกระจูดซึ่งเป็นวัตถุดิบอยู่ในท้องถิ่นอยู่แล้วจำนวนมาก เมื่อปี พ.ศ. 2537 ได้ทรงเริ่มส่งเสริมงานการแปรรูปกระจูด ทรงได้จัดให้มีครูมาสอนให้กับสมาชิกกลุ่ม
เพื่อพัฒนาจากรูปแบบเก่าๆ ให้มีรูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จนปัจจุบันผลิตภัณฑ์ได้ในรูปแบบที่หลากหลาย เป็นของใช้และของประดับตกแต่ง
ที่ทันยุคทันสมัยมากขึ้น