แจกันดินเผาขัดหิน

กลุ่มงานศิลปาชีพ

  • แจกันดินเผาขัดหิน เป็นแจกันทรงกลม สีธรรมชาติไม่ผ่านการเคลือบสี และมีลวดลายการทับซ้อนของสี เข้ม อ่อน บนชิ้นงาน
  • ลวดลายเกิดจากการใช้หินแม่น้ำขัดลงบนพื้นผิวชิ้นงาน เมื่อเกิดการกดทับบนผิวขณะขัด ทำให้เกิดสีอ่อน เข้มขึ้น ยิ่งกดทับมาก สีจะยิ่งเข้มมาก สีนั้นจะเป็นสีเนื้อดินโดยธรรมชาติของดินเอง
ประเภทงานหัตถกรรม :
เครื่องดิน
ขนาด :
เส้นผ่าศูนย์กลาง 13 ซ.ม. สูง 14 ซ.ม.
แหล่งที่มา :
ศูนย์ศิลปาชีพสีบัวทอง
วัสดุ :
ดินเหนียวที่พบในท้องที่ตำบลสีบัวทอง
อายุ/ปีที่ผลิต :
2563
รายละเอียดชิ้นงาน

เทคนิคที่ใช้ : การขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนมือ แต่งลวดลายด้วยตัวปั๊ม (แสตมป์)

ขั้นตอนและวิธีการทำ :

  1. เตรียมดินที่ขุดได้จากท้องนาในพื้นที่ตำบลสีบัวทอง นำมาหมักและกรองจนเนื้อดินละเอียดและมีความเหนียวที่พอเหมาะกับการขึ้นรูปด้วยมือ
  2. นำดินเหนียวที่กะปริมาณและน้ำหนักที่พอดีกับชิ้นงานมาขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนมือ โดยใช้มือดัดรูปทรงของดินระหว่างการใช้เท้าเหยียบแป้นหมุนตามรูปแบบที่ต้องการ
  3. ขณะที่ดินเริ่มแข็งตัว ใช้หินแม่น้ำขัดบริเวณผิวชิ้นงาน  สร้างสรรค์ลวดลายตามที่ต้องการ
  4. ผึ่งชิ้นงานจากดินดิบให้แห้ง โดยใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน
  5. นำชิ้นงานเข้าเตาอบรอบแรกที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 8 ชั่วโมง
  6. นำชิ้นงานออกจากเตาอบ และผึ่งให้หายร้อน 1 วัน เป็นอันเสร็จสมบูรณ์
ข้อมูลแหล่งที่มา
แหล่งเรียนรู้งานศิลปหัตถกรรมที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์ศิลปาชีพสีบัวทอง
ดูรายละเอียด