โขลงช้าง

กลุ่มงานศิลปาชีพ

งานแกะสลักไม้ “โขลงช้าง”  ใช้ตอไม้สักทอง แกะสลักลวดลายจะแกะตามลักษณะขนาดของไม้ที่มีอยู่ เป็นการแกะภาพนูนต่ำบนเนื้อไม้ เนื้อไม้ และโชว์ลวดลายของฝูงช้างป่า จำนวน 20 ตัว   และในชิ้นงานมีการลงสีมะเกลือที่ตัวช้าง เพื่อเป็นการสร้างมิติให้มีความสวยงามมากขึ้น และยังสามารถดูแลรักษาเนื้อไม้อีกด้วย

ประเภทงานหัตถกรรม :
เครื่องไม้
ขนาด :
กว้าง 47 ซ.ม. ยาว 10 ซ.ม. สูง 55 ซ.ม.
แหล่งที่มา :
โครงการพัฒนาพื้นที่รอยต่อฯ บ้านทุ่งจี้ จ.ลำปาง
วัสดุ :
ไม้สักทอง
อายุ/ปีที่ผลิต :
2563
รายละเอียดชิ้นงาน

การแกะสลักไม้แบบลายนูนต่ำ (Chip – Carving) คือการแกะสลักไม้ที่ลักษณะลายนูนมีความลึกไม่มาก สำหรับฝึกทักษะพื้นฐานเบื้องต้นการใช้สิ่ว ใช้ค้อนในการตอก ไม่ต้องพลิกชิ้นงานไม่มา

ขั้นตอนและวิธีการทำ:

  1. กำหนดรูปแบบ หรือลวดลาย
  2. เลือกตอไม้  และนำแบบมาติดลงบนที่ไม้ที่เลือก
  3. การขึ้นรูปโดยการตัดทอนเนื้อไม้ในส่วนที่ไม่ต้องการออก
  4. แกะสลักลวดลาย โดยใช้สิ่วและค้อนสลักตกแต่งให้มีรูปลักษณ์ตามภาพที่ร่างไว้ โดยเริ่มจากโครงสร้างด้านนอกสุด แล้วจึงแกะพื้นหลัง หากเป็นภาพสัตว์จะเริ่มจากส่วนของดวงตาเป็นอันดับแรก
  5. เก็บรายละเอียดงานด้วยการขัดลบรอยสิ่ว และตกแต่งเก็บรายละเอียดให้เรียบร้อย
  6. ตกแต่งชิ้นงานเพิ่มเติมด้วยการลงสีมะเกลือ ซึ่งเป็นสีธรรมชาติจากภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการนำมะเกลือมาหมักกับน้ำปูนใส เมื่อนำมาทาบนชิ้นงานไม้แกะสลักจะได้สีดำออกเทา
  7. นำแปรง หรือนำผ้าชุบน้ำ เช็ดสีมะเกลือออกให้จางลงเพื่อให้มีมิติมากขึ้น
  8. นำชิ้นงานที่ตกแต่งสีเรียบร้อยไปผึ่งลมเพื่อให้แห้ง
ข้อมูลแหล่งที่มา
แหล่งเรียนรู้งานศิลปหัตถกรรมที่เกี่ยวข้อง
โครงการพัฒนาพื้นที่รอยต่อฯ บ้านทุ่งจี้ จ.ลำปาง
ดูรายละเอียด