- กลุ่มเครื่องปั้นดินเผา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ, ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ(องค์การมหาชน), สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผาภาคเหนือ ลำปาง เป็นหน่วยงานร่วมสนับสนุน
กลุ่มเครื่องปั้นดินเผา มีสมาชิก 37 คน แบ่งเป็นแผนกต่างๆดังนี้ แผนกแป้นหมุน แผนกทำพิมพ์ แผนกปั้นอิสระ แผนกหล่อน้ำดิน แผนกตกแต่ง แผนกเตาเผา แผนกน้ำเคลือบ แผนกเขียนสี
งานที่ได้ดำเนินการ ได้แก่ ฝึกอบรม และพัฒนาฝีมือแก่กลุ่มสมาชิก ในการผลิตชิ้นงานซึ่งลักษณะของชิ้นงานเป็นประเภทของที่ระลึกแจกันขนาด/รูปทรงต่าง ๆ และพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย โดยโครงการฯได้พัฒนาชิ้นงานเพื่อสนองแนวพระราชดำริฯกับผู้อำนวยโครงการฯ ว่าทรงอยากได้ชิ้นงานเครื่องปั้นดินเผาที่มีขานาดใหญ่กว่าเดิม และให้คิดชิ้นงานที่เป็นเอกลักษณ์ ของตนเอง เช่น ชิ้นงานที่เป็นของที่ระลึกเอกลักษณ์ของจังหวัดลำปาง แบ่งตามการใช้งาน คือ ชิ้นงานตกแต่งภายในอาคาร จะเป็นงานภาชนะบนโต๊ะอาหาร เช่น ชุดกระทงใบบัว ชุดกระทงใบตอง และชิ้นงานที่เป็นงานตกแต่งภายนอกอาคาร จะเน้นงานรูปแบบอิสระประเภทงานเคลือบสี เป็นงาน แฮนด์เมด งานชิ้นเดียว ส่วนงานตกแต่งใต้เคลือบ จะเป็นเน้นลวดลายใต้บัวและวิถีชีวิตล้านนา) ซึ่งได้รับความนิยมและมีเอกลักษณ์โดดเด่นของโครงการฯ โดยผลิตภัณฑ์ทั้งหมดจะมีรูปแบบการจัดจำหน่าย ทั้งรับจ้างผลิต จำหน่ายในพื้นที่ และส่งไปที่กองศิลปาชีพ
- กลุ่มงานแกะสลัก : มีสมาชิก จำนวน 5 คน งานที่ดำเนินการได้แก่ ฝึกอบรมสมาชิกจัดทำผลิตภัณฑ์ให้มีลักษณะ และรูปแบบให้มีความหลากหลายเช่น การแกะสลักจากตอไม้แกะสลักภาพรูปปลาในจินตนาการรูปสัตว์ และภาพลักษณะนูนต่ำเป็นลายบัวและโขลงช้าง ในรูปแบบต่างๆ โดยชิ้นงานส่งไปยังโรงฝึกศิลปาชีพจิตรลดา
- กลุ่มงานปลูกต้นหม่อนเลี้ยงไหม : ศูนย์วิจัยหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ จ.เชียงใหม่ เป็นหน่วยงานร่วมสนับสนุน มีสมาชิก จำนวน 4 คน ในการปลูกหม่อน/เลี้ยงไหม โดยเฉลี่ย 4 รุ่น/ปี ซึ่งเส้นไหมที่ได้จากการเลี้ยงไหมจัดส่งไปยังโรงฝึกศิลปาชีพจิตรลดาเพื่อประเมินราคา
- กลุ่มงานทอผ้า
•แผนกทอผ้าฝ้าย: มีสมาชิกในกลุ่มทอผ้าฝ้ายทั้งหมด 258 คน ลักษณะการบริหารจัดการ สมาชิกจะมารับเส้นด้ายฝ้ายไปทอผ้าลายที่ตนมีความถนัดทุกรอบ 6 เดือนผลิตภัณฑ์ที่ได้ สำนักพัฒนาชุมชนพื้นที่จะทำงานบูรณาการร่วมกับโครงการฯ นำจัดส่งให้กับโรงฝึกศิลปาชีพฯ เป็นผู้ประเมินราคา จ่ายค่าตอบแทนสู่สมาชิกของโครงการฯ ตามขีดความสามารถและคุณภาพของผลิตภัณฑ์
•แผนกทอผ้าไหม : มีสมาชิกในกลุ่มทอผ้าไหมทั้งหมด 13 คน ลักษณะการบริหารจัดการ สมาชิกจะรับเส้นไหมดิบจากโครงการฯ พร้อมแจ้งความจำนงในการผลิตทุก 6 เดือน ผลิตภัณฑ์ที่ได้สำนักพัฒนาชุมชนพื้นที่จะทำงานบูรณาการร่วมกับโครงการฯนำจัดส่งให้กับโรงฝึกศิลปาชีพฯเป็นผู้ประเมินราคา จ่ายค่าตอบแทนสู่สมาชิกของโครงการฯ ตามขีดความสามารถและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยเอกลักษณ์ที่สำคัญของกลุ่มทอผ้าไหมคือผ้าทอลายดั้งเดิมของจังหวัดลำปาง อาทิ ลายตาจุ่ม,ลายตาตอบ ฯลฯ ผ้าไหมที่ได้จากสมาชิกเนื้อผ้าทอที่สวยงามมีความแน่นสม่ำเสมอ จนได้รับตรารับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์พระราชทาน นกยูงสีน้ำเงิน ยังความภาคภูมิใจแก่สมาชิกกลุ่มงานทอผ้าไหมอย่างหาที่เปรียบมิได้
5. กลุ่มงานผ้าปัก แบ่งออกเป็น 2 แผนก แต่ลักษณะการบริหารจัดการ เป็นการแจกงานและรับซื้อผลิตภัณฑ์ ยืดหยุ่นตามความสามารถในการปักของกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ ดังนี้
• งานปักซอยลายไทย: มีสมาชิก 215 คน ลักษณะการบริหารจัดการ ด้วยการกระจายงานปักไปยังกลุ่มสมาชิกที่มีความสามารถปักตามรูปแบบและลวดลายที่กองศิลปาชีพกำหนด โดยจะมีรอบการแจกจ่ายงานทุก 6 เดือน โครงการฯเป็นผู้สนับสนุน วัสดุอุปกรณ์ทั้งหมด ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะนำส่งกองศิลปาชีพเพื่อประเมินราคา แล้วนำส่งค่าตอบแทนแก่สมาชิกโครงการฯต่อไป
• งานปักลายชนเผ่า :มีสมาชิก 907 คน ลักษณะบริหารจัดการ เป็นการรับซื้อชิ้นงานจากกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ทุก 6 เดือน อาทิ ลาหู่,เมี่ยน(เย้า),มูเซอ,ม้ง,ปกากญอ เป็นต้น โดยผลิตภัณฑ์ทั้งหมดจะจัดส่งกองศิลปาชีพเพื่อประเมินราคา แล้วนำส่งค่าตอบแทนแก่สมาชิกโครงการฯต่อไป
6. กลุ่มงานจักสาน มีสมาชิก จำนวน 30 คน งานที่ดำเนินการ กำกับดูแลกลุ่มราษฎร ชิ้นงานส่วนใหญ่ใช้ไม้ไผ่จักสาน เป็นงานละเอียดและประณีตชิ้นงานส่วนใหญ่เป็นงานขนาด เล็ก กลาง ใหญ่ ตามความสามารถของราษฎรโดยสมาชิกงานจักสานจะเป็น กลุ่มชนเผ่าในพื้นที่รับผิดชอบโครงการฯ โดยกลุ่มงานจักสานจะอยู่ในพื้นที่ป่าคาสันติสุข บ้านแม่แจ๋ม อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง มีสมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ ลาหู่ ที่มีความสามารถในการจักสานไม้ไผ่เป็นสมาชิกโครงการฯ 30 คน โดยชิ้นงานโครงการฯจะจัดส่งไปยังโรงฝึกศิลปาชีพฯ เพื่อประเมินราคา
7. กลุ่มงานเลี้ยงผึ้ง มีสมาชิก จำนวน 5 คน โดยดำเนินการส่งเสริมกำกับดูแลให้คำแนะนำ กลุ่มสมาชิกในการเลี้ยงและขยายพันธุ์ผึ้งซึ่งผลผลิตน้ำผึ้งจำหน่ายในพื้นที่ ตามแนวพระราชดำริฯ ให้กับเกษตรกรในจังหวัดลำปาง เลี้ยงผึ้งเพื่อการผสมเกสรของต้นไม้ให้ป่าคงสภาพและฝนตกต้องตามฤดูกาล และผลผลิตน้ำผึ้งที่ได้จัดส่งไปยังโรงฝึกศิลปาชีพฯ เพื่อประเมินราคา แต่ปัจจุบันในพื้นที่ขาดแคลนละอองเกสรดอกไม้แหล่งอาหารของผึ้ง ผลผลิตไม่สม่ำเสมอ โครงการฯจึงได้ย้ายงานเลี้ยงผึ้งให้สมาชิกในพื้นที่ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ทำให้ผลผลิตน้ำผึ้งดีขึ้นโดยลำดับ
8.งานส่งเสริมอาชีพอื่นๆ ได้แก่ กลุ่มโรงผลิตน้ำดื่ม สมาชิก จำนวน 3 คน งานที่ดำเนินการ ได้แก่ ผลิตน้ำดื่มบรรจุขวด/ถัง เพื่อเป็นสวัสดิการให้กับสมาชิกในโครงการ และจัดจำหน่ายในพื้นที่ใกล้เคียง