แจกันลายมัดหมี่คละสี

กลุ่มงานศิลปาชีพ

แจกันลายมัดหมี่คละสีแสดงการนำลวดลายของผ้าไหมมัดหมี่มาประยุกต์ลงบนเซรามิก เพิ่มความแตกต่างที่เป็นเอกลักษณ์  เพิ่มมูลค่า และโดดเด่นในชิ้นงาน บ่งบอกถึงที่มาและวัฒนธรรมการใช้ผ้ามัดหมี่ภาคอีสาน

ประเภทงานหัตถกรรม :
เครื่องดิน
ขนาด :
สูง 10 นิ้ว กว้าง 5 นิ้ว
แหล่งที่มา :
ศูนย์ศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม จังหวัดสกลนคร
วัสดุ :
ดินเหนียวชนิดพิเศษ
อายุ/ปีที่ผลิต :
2560
รายละเอียดชิ้นงาน

การขึ้นรูปและการวาดลายด้วยมือ

ขั้นตอนและวิธีการทำ :

  1. เตรียมดินตามสูตรเพื่อให้มีความเหนียวในปริมาณที่พอเหมาะสำหรับการขึ้นรูปด้วยมือ
  2. ขึ้นรูปด้วยมือ บนแป้นหมุนไฟฟ้า และแต่งให้เรียบ พักทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน (ขึ้นอยู่กับปริมาณความชื้นในอากาศ)
  3. นำชิ้นงานไปเผารอบที่ 1 ที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส โดยใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมง
  4. สเกตแบ่งช่องในการลงสี เพื่อความสม่ำเสมอของลวดลายผ้ามัดหมี่
  5. ลงสีตามลวดลายของมัดหมี่
  6. นำชิ้นงานที่วาดและลงสีลายเสร็จแล้วไปจุ่มน้ำเคลือบใส
  7. นำชิ้นงานไปเผารอบที่ 2 ที่อุณหภูมิ 1200 องศาเซลเซียส ประมาณ  10 ชั่วโมง
  8. รอให้ชิ้นงานเย็น (อุณหภูมิลดลง)  ก่อนนำออกจากเตาเผา
ข้อมูลแหล่งที่มา
แหล่งเรียนรู้งานศิลปหัตถกรรมที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์ศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม จังหวัดสกลนคร
ดูรายละเอียด