อาคารศาลารวมใจเทิดพระเกียรติฯ : เป็นอาคารที่ใช้ในการจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของศูนย์ฯ อีกทั้งยังเป็นอาคารที่ใช้ในการต้อนรับคณะนักท่องเที่ยว และใช้จัดกิจกรรมในวันสำคัญต่าง ๆ ในอดีตที่มีการเสด็จพระราชดำเนิน จะใช้ในการรับเสด็จฯ พระบรมวงศานุวงศ์ด้วย ซึ่งภายในจะมีอาคารพลับพลาที่ประทับหลังเล็กตั้งอยู่ตรงกลางของอาคารด้วยศาลารวมใจ
เรือนดวงเดือน: ใช้เป็นเรือนประทับสำหรับทรงประทับพักผ่อนอิริยาบถ เมื่อมีการเสด็จพระราชดำเนินฯ อาคารศาลาทรงงาน : อาคารที่ประทับทรงงานในการเยี่ยมราษฎรของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ปัจจุบันตกแต่งให้เป็นสถานที่สำหรับการศึกษาค้นคว้าข้อมูลการเสด็จพระราชดำเนินฯ ในพื้นที่และพระราชกรณียกิจต่าง ๆ
กลุ่มอาคารแผนกเครื่องปั้นดินเผา
• ร้านค้าสวัสดิการ
• อาคารแผนกดอกไม้ประดิษฐ์
• สำนักงานชุดปฏิบัติการ
• อาคารแผนกทอผ้าไหม
• อาคารแผนกตัดเย็บเสื้อผ้า
• อาคารแผนกบรรจุภัณฑ์
• อาคารแผนกตีเหล็ก
• อาคารแผนกเฟอร์นิเจอร์/แกะสลักไม้
• อาคารแผนกปักผ้า/ปักชุดโขน
• โรงเลี้ยงไหม
กิจกรรมและแผนกต่าง ๆ ที่ดำเนินการภายในศูนย์ศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม ได้แก่
-
แผนกเครื่องปั้นดินเผา (เซรามิก): มีพนักงานในฝ่ายทั้งหมด 76 คน
แบ่งงานเครื่องปั้นดินเผาออกเป็น 2 ประเภท
1.1เซรามิกสำหรับใช้สอย ประเภทเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร,ชุดชา กาแฟ,ชุดกับข้าว,โถ,โอ่ง,แจกัน ฯลฯ
1.2 เซรามิกสำหรับงานตกแต่ง เช่น โอ่ง,เบญจรงค์ ฯลฯ
-
แผนกดอกไม้ประดิษฐ์: มีพนักงานในแผนก 9 คน
ลักษณะการทำงานจะรับคำสั่งซื้อ 2 ทางคือ คำสั่งซื้อผ่านระบบออนไลน์ และคำสั่งซื้อจากภายในศูนย์ศิลปาชีพฯ เมื่อรับคำสั่งซื้อ แล้วจะแบ่งงานกันทำภายในแผนกให้เสร็จทันกำหนดเวลาของลูกค้า โดยผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นของแผนกดอกไม้ประดิษฐ์คือ ดอกบัวหลวงและดอกกุหลาบที่มีคำสั่งซื้อต่อเนื่อง
3.แผนกปักผ้า / ปักชุดโขน: มีพนักงานในแผนก 6 คน
3.1 แผนกปักผ้า: ลักษณะการรับงานไปทำ จะมีการจ่ายอุปกรณ์เป็นผืนผ้าและไหมสำหรับปักเป็นชุดแจกพนักงานกลับไปทำที่บ้าน ลักษณะงานปักจะมีรูปแบบแตกต่างกันไปตามความถนัดของพนักงาน เช่น รูปสัตว์ ,รูปนางในวรรณคดี,ดอกไม้ ฯลฯ ลักษณะชิ้นงานจะเป็นงานชุดผ้าเช็ดมือ ,ผ้าม่าน,ชิ้นส่วนของกระเป๋า เป็นต้น
3.2 ปักชุดโขน: ลักษณะงานจะเป็นคำสั่งการปักจากศูนย์ศิลปาชีพส่วนกลาง ที่จะส่งแบบผ้า และลายปักสำเร็จมาให้พนักงานปัก ส่งกลับไป
- แผนกตัดเย็บเสื้อผ้า /ปั่นชายผ้า: มีพนักงานในแผนก 6 คน
4.1แผนกตัดเย็บเสื้อผ้า: ลักษณะงานจะเป็นการรับผ้าและแบบมาจากศูนย์ศิลปาชีพส่วนกลาง ที่ส่งผืนผ้า และแบบ มาเพื่อให้พนักงานทำแพทเทิร์นเพื่อตัดเย็บ โดยแผนกตัดเย็บจะแบ่งการทำงานออกเป็น ช่างตัดและช่างเย็บ มีข้อกำหนดว่าการตัดเย็บในแต่ละเดือนพนักงานแต่ละคนในแผนกต้องตัดเย็บให้ได้อย่างน้อย 180 ตัว
4.2แผนกปั่นชายผ้า: ลักษณะงานจะเป็นการนำผ้าทอสำเร็จแล้วมาปั่นชายผ้าให้เกิดเกลียวผ้า สำหรับเป็นผ้าที่มีชายพู่ห้อย รูปแบบงานส่วนใหญ่เป็นการรับคำสั่งการผลิตมาจากศูนย์ศิลปาชีพส่วนกลาง ส่วนใหญ่เป็นงาน ผ้าคลุมไหล่ ,ผ้าม่าน,ผ้าปูโต๊ะ,ผ้าพันคอ,ของชำร่วย เป็นต้น
-
แผนกตีเหล็ก: มีพนักงานในแผนก 4 คน
ลักษณะงาน จะเป็นการรับคำสั่งผลิต เช่น จอบ,เสียมมีด,มีด เป็นต้น โดยวัตถุเหล็กที่ใช้จะแปรรูปมาจากแหนบรถยนต์เพราะมีความแข็งแรงทนทาน เหมาะแก่การนำมาทำเครื่องมือทางการเกษตร
-
แผนกเฟอร์นิเจอร์: มีพนักงานในแผนก 2 คน
ลักษณะงานจะเป็นการรับคำสั่งทำจากลูกค้า
-
แผนกแกะสลักไม้: มีพนักงานในแผนก 2 คน
ลักษณะงาน จะเป็นการรับคำสั่งทำจากลูกค้าเป็นหลัก ต่างจากในอดีตที่จะผลิตงานแกะสลักจากไม้ที่มีภายในศูนย์ฯ โดยคำสั่งซื้อของลูกค้าส่วนใหญ่เป็นวัดวาอารามที่ต้องการซุ้มประตูโบสถ์วิหาร หรือเป็นลูกค้าที่มีไม้ของตนนำมาสั่งให้แกะสลัก รูปต่างๆ เช่น กินรี,เนื้อหาในเรื่องรามเกียรติ์,ครุฑ,ดอกพุดตาน,เถาวัลย์เครือ เป็นต้น
-
แผนกปลูกหม่อนเลี้ยงไหม: มีพนักงานในแผนก 3 คน
ลักษณะงาน จะมีเจ้าหน้าที่จากศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสกลนคร เข้ามาให้คำปรึกษาและดูแลอย่างใกล้ชิด โดยจะมีแปลงปลูกหม่อน โรงเรือนสำหรับเลี้ยงไหมจำนวน 2 โรง เมื่อเก็บเกี่ยวรังไหม แล้วนำไปสาวเส้นไหมแล้ว เส้นไหมที่ได้จากศูนย์ฯจะถูกส่งไปย้อมที่โรงฝึกศิลปาชีพจิตรลดาเพื่อกระจายไปยังกลุ่มทอผ้าภายใต้โครงการศูนย์ศิลปาชีพอีกครั้งหนึ่ง
-
แผนกทอผ้าไหม/ทอผ้าฝ้าย: มีพนักงานในแผนก 6 คน
แผนกทอผ้าไหม/ทอผ้าฝ้าย: ลักษณะงานจะเป็นการรับเส้นไหมและผ้าฝ้ายที่ได้รับจากโรงฝึกศิลปาชีพจิตรลดา โดยจะมีรอบการรับเส้นไหมทุก 3 เดือน ให้แก่กลุ่มสมาชิกของศูนย์ศิลปาชีพบ้านกุดนาขามที่มีความสามารถในการทอผ้าไหมและผ้าฝ้าย อาทิ สมาชิกจากโครงการส่งเสริมศิลปาชีพบ้านสานแว้-นาโคกกุง จ.มุกดาหาร,สมาชิกจากโครงการป่ารักน้ำ บ้านป่ารักน้ำ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร,สมาชิกจากโครงการส่งเสริมศิลปาชีพบ้านนาจาร,สมาชิกจากโครงการส่งเสริมศิลปาชีพบ้านทรายทอง เป็นต้น โดยทุก 3 เดือนสมาชิกของกลุ่มจะนำผืนผ้าไหม หรือผ้าฝ้ายที่รับไปกลับมาส่งที่ศูนย์ศิลปาชีพฯ และสมาชิกจะได้รับค่าแรงจากการทอหลังจากส่งชิ้นงานผ่านศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพฯต้นสังกัด ไปแล้วราว 2-3 เดือน ด้วยวิธีดังกล่าวสมาชิกจะมีรายได้สม่ำเสมอทุกๆ 3 เดือนนั่นเอง
-
แผนกเกษตรกรรม: มีพนักงานในแผนก 1 คน
ลักษณะงานจะอยู่ร่วมกันของพนักงานระหว่างแผนกปลูกหม่อนเลี้ยงไหม โดยมีหน้าที่ในการปลูกพืชผักสวนครัวในพื้นที่เพาะปลูกของศูนย์ศิลปาชีพฯ โดยวิธีเกษตรอินทรีย์ ผลผลิตที่ได้จะนำขายให้แก่สมาชิกของศูนย์ฯ
-
สมาชิกกลุ่มงานธุรการ/ฝ่ายขาย/พลขับ: มีพนักงานในแผนกทั้งหมด 10 คน
ลักษณะกลุ่มงานธุรการ ฝ่ายจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของศูนย์ศิลปาชีพ และพลขับ