อ่างตราไก่

กลุ่มงานศิลปาชีพ

“ไก่” ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดลำปางที่มีการใช้ตามตำนานเก่าแก่ของเมืองลำปางที่ชื่อว่า “เมืองกุกุฏนคร” แปลว่าเมืองไก่ขัน ชื่อนี้มีตำนานเล่าว่าเมื่อครั้งพุทธกาลสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาประทับ ณ เมืองลำปางพระอินทร์ทราบข่าวจึงแปลงเป็นไก่ขาวเพื่อขันปลุกพระพุทธองค์ให้ตื่นขึ้นมาปฏิบัติภารกิจ ทั้งยังเป็นห่วงว่าชาวเมืองลำปางจะตื่นขึ้นมาใส่บาตรพระพุทธองค์ไม่ทันจึงขันปลุกชาวบ้านให้ตื่นมาหุงหาอาหารเตรียมใส่บาตร

ประเภทงานหัตถกรรม :
เครื่องดิน
ขนาด :
เส้นผ่านศูนย์กลาง 20 นิ้ว สูง 8.5 นิ้ว
แหล่งที่มา :
ศูนย์ศิลปาชีพบ้านแม่ต๋ำ จ.ลำปาง
วัสดุ :
ดินสโตน์แวร์ (Stoneware)
อายุ/ปีที่ผลิต :
2562
รายละเอียดชิ้นงาน

การขึ้นรูปด้วยการหล่อแบบหรือการใช้แบบพิมพ์
ขั้นตอนและวิธีการทำ:

  1. นำดินที่เตรียมแล้วเทใส่แม่พิมพ์และแต่งให้เรียบ พักทิ้งไว้ประมาณ 1 อาทิตย์ (ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ) จนเนื้อดินหดร่อนหลุดจากแบบพิมพ์
  2. ถอดชิ้นงานออกจากแบบพิมพ์ และนำไปเผารอบที่ 1 ที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส โดยใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมง
  3. พ่นสีและตกแต่งสีชิ้นงาน
  4. นำชิ้นงานไปชุบน้ำเคลือบใส
  5. นำชิ้นงานไปเผารอบที่ 2 ที่อุณหภูมิ 1,200 องศาเซลเซียส โดยใช้เวลาประมาณ  12 ชั่วโมง
  6. รอให้ชิ้นงานเย็น (อุณหภูมิลดลง)  ก่อนนำออกจากเตาเผา
ข้อมูลแหล่งที่มา
แหล่งเรียนรู้งานศิลปหัตถกรรมที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์ศิลปาชีพบ้านแม่ต๋ำ จ.ลำปาง
ดูรายละเอียด