หมอนจกไท-ยวน ราชบุรี 3

กลุ่มงานศิลปหัตถกรรม ประเภทงานหัตถศิลป์ไทย

  • หมอนจกลายกาบ ลายนาค และลายมะลิเลื้อย
  • ลายนาค : เป็นลายประกอบแบบลายเดี่ยวที่สืบต่อกันมาแต่โบราณ รูปลักษณ์ของลายเรียกชื่อตามลักษณะของพญานาค ซึ่งเป็นลายตามความเชื่อมาแต่โบราณ นิยมใช้เป็นลายประกอบลายหลักของหมอนจก และเป็นลายที่นิยมทอกันทั่วไปในหมู่ช่างทอในตำบลดอนแร่ ตำบล ห้วยไผ่
  • ลายมะลิเลื้อย : เป็นลายประกอบแบบลายผสมที่เรียกสืบต่อกันมาแต่โบราณ ใช้ทอจก เป็นลายประกอบร่วมกับลายหลักให้มีความหลากหลายของลวดลายจก รูปลักษณ์ของลายมีลักษณะเป็นแถวเลื้อน คล้ายรูปทรงของต้นมะลิที่เลื้อยไปตามพื้นดิน (การตั้งชื่อตามพรรณไม้) นิยมใช้เป็นลายประกอบลายหลักของตีนซิ่นของผ้าซิ่นตีนจก ลายหน้าหมอน ผ้าปกหัวนาค ย่ามจก


ประเภทงานหัตถกรรม :
เครื่องทอ
กลุ่มวัฒนธรรม :
ไท-ยวน ราชบุรี
ขนาด :
กว้าง 4 นิ้ว ยาว 6.5 นิ้ว สูง 3.5 นิ้ว
แหล่งที่มา :
จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว
วัสดุ :
ฝ้าย
อายุ/ปีที่ผลิต :
2460
รายละเอียดชิ้นงาน

เทคนิคที่ใช้ : เทคนิคการจก คือ วิธีการสร้างลวดลายบนผืนผ้าในขณะทอผ้า “จก” มีความหมายว่า การล้วง หรือการควัก โดยใช้ไม้หรือขนเม่น ที่มีลักษณะปลายเรียวมน หรือนิ้วมือ “จก” หรือ “ยก” หรือ “งัด” หรือ “ล้วง” หรือ “ควัก” ด้ายเส้นยืนขึ้นแล้วเกี่ยวด้ายเส้นพุ่งพิเศษเข้าไปในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งเป็นช่วง ๆ ตามต้องการอย่างเฉพาะเจาะจง ทำให้เกิดการสลับสีของด้ายเส้นพุ่งพิเศษติดต่อกันเต็มหน้าผ้า

ข้อมูลแหล่งที่มา
แหล่งเรียนรู้งานศิลปหัตถกรรมที่เกี่ยวข้อง
จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว
ดูรายละเอียด