ผ้าซิ่นตีนจกไท-ยวน ราชบุรี ตระกูลคูบัว

กลุ่มงานศิลปหัตถกรรม ประเภทงานหัตถศิลป์ไทย

ผ้าซิ่นตีนจกไท-ยวน ตระกูลคูบัว ลายหลักตรงกลางของตีนซิ่นคือลายดอกเซีย และมีลายประกอบคือลายนกคู่กินน้ำฮ่วมเต้า ลายขอประแจ และลายมะลิเลื้อย

ประเภทงานหัตถกรรม :
เครื่องทอ
กลุ่มวัฒนธรรม :
ไท-ยวน ราชบุรี
ขนาด :
กว้าง 32 นิ้ว ยาว 40 นิ้ว
แหล่งที่มา :
จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว
วัสดุ :
ฝ้าย
อายุ/ปีที่ผลิต :
2562
รายละเอียดชิ้นงาน

เทคนิคที่ใช้ :  ส่วนตัวซิ่นนิยมใช้เส้นยืนและเส้นพุ่งเป็นฝ้ายสีดำ หรือสีคราม ทอด้วยเทคนิคทอขัดธรรมดา เป็นลวดลายริ้วแนวขวางสลับสีระหว่างสีดำ กับสีคราม หรือสีเขียว ส่วนตีนจกใช้เทคนิคการจก โดยใช้ไม้หรือขนเม่น หรือนิ้วมือจกเส้นด้ายเส้นยืนยกหรือจกเส้นด้ายเส้นยืนขึ้น แล้วสอดใส่ด้ายพุ่งพิเศษเข้าไปเป็นช่วง ๆ สลับสีตามต้องการในขณะทอ ซึ่งสามารถออกแบบลวดลายและสีสันของผ้าได้ซับซ้อนและหลากสีสัน ซึ่งแตกต่างจากผ้าขิดที่มีการใช้เส้นพุ่งพิเศษสีเดียว ตลอดหน้ากว้างของผืนผ้า

ข้อมูลแหล่งที่มา
แหล่งเรียนรู้งานศิลปหัตถกรรมที่เกี่ยวข้อง
จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว
ดูรายละเอียด