ชุดขันหมาก หรือชุดเชี่ยนหมาก

กลุ่มงานศิลปหัตถกรรม ประเภทงานหัตถศิลป์ไทย

เชี่ยนหมากชุดลักษณะนี้แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลที่ได้รับจากประเทศลาวอย่างชัดเจน ทั้งในด้านรูปแบบ รูปทรง และลวดลาย ภายในชุดเชี่ยนหมาก ประกอบด้วย ตลับสลักดุนลายเครือเถา วางบนตัวเชี่ยนที่บรรจุลวดลายไข่ปลาไล่ระดับ ใช้เป็นภาชนะบรรจุชุดเครื่องประกอบในการรับประทานหมาก เช่น หมาก พลู ยาเส้น สีผึ้ง สีเสียด กานพลู และของอื่น ๆ ที่รับประทานกับหมาก

ประเภทงานหัตถกรรม :
เครื่องโลหะ
กลุ่มวัฒนธรรม :
ช่างสลักดุน สกุลช่างเชียงใหม่
วัสดุ :
โลหะเงิน
อายุ/ปีที่ผลิต :
2500
องค์ความรู้ :
รายละเอียดชิ้นงาน

“เชี่ยนหมาก” หรือขันหมาก เป็นเครื่องใช้ในการรับประทานหมาก ที่มีการประดิษฐ์ขึ้นหลายรูปแบบ จากวัสดุหลากหลายประเภท เช่น ไม้ นาก ทองเหลือง เครื่องเขิน เครื่องเงิน เครื่องทอง เครื่องถม เป็นต้น และถูกใช้เป็นเครื่องแสดงฐานะทางสังคมได้ว่าใครมีชั้นสูงศักดิ์ สามารถดูได้จากวัสดุที่ใช้ทำเชียนหมาก หากเป็นชาวบ้านทั่วไป เชี่ยนหมากก็จะทำด้วยไม้ธรรมดา หรือ ทองเหลือง แต่หากเป็นผู้มียศชั้นสูง เชี่ยนหมากก็จะทำจาก ไม้แกะสลัก เครื่องเขิน เครื่องเงิน เครื่องทอง และหากเป็นชนชั้น พระมหากษัตริย์ ก็จะทำจากทองคำ ตกแต่งลวดลายอย่างประณีตงดงาม ในเซี่ยนหมากจะประกอบด้วยสิ่งของสำคัญที่ต้องใช้ ในการกินหมากที่สำคัญ ได้แก่ ใบพลู ผลหมาก ยาเส้น ซองพลู ตลับปูน สะบันหมาก เต้าปูน กรรไกรหนีบหมาก หรือสีผึ้ง สีเสียด กานพลู และของอื่น ๆ ตามแต่ที่ต้องการ

ข้อมูลแหล่งที่มา