ขัน

กลุ่มงานศิลปหัตถกรรม ประเภทงานหัตถศิลป์ไทย

สลักดุนลวดลายเพื่อตกแต่งตัวภาชนะให้เป็นลายก้นหอย และลายช่องกระจก ซึ่งในแต่ละช่องกระจกนั้น จะบรรจุลายสัตว์หิมพานต์ เช่น ราชสีห์คชสีห์ เป็นต้น ลายสิบสองนักษัตร ที่บริเวณส่วนล่างสุดที่ตัวภาชนะ จะสลักดุนเป็นลายสร้อยสา (คนไทยภาคกลางจะเรียกว่า ลายกรวยเชิง)ที่ถือเป็นลวดลายเอกลักษณ์ที่สำคัญที่สุดของช่างสลักดุนเมืองหลวงพระบาง ใช้เป็นภาชนะสำหรับใส่ข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียนสำหรับไปวัด ถือเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องสักการะตามจารีตของอาณาจักรล้านช้าง หลวงพระบาง

ประเภทงานหัตถกรรม :
เครื่องโลหะ
กลุ่มวัฒนธรรม :
ช่างสลักดุน สกุลช่างเมืองหลวงพระบาง
วัสดุ :
โลหะเงิน
อายุ/ปีที่ผลิต :
2480
องค์ความรู้ :
รายละเอียดชิ้นงาน

แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
สลักดุน ภูมิปัญญาเชิงช่าง จากอดีตสู่ปัจจุบัน ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) ปีที่ตีพิมพ์ 2559

ข้อมูลแหล่งที่มา