แกะรูปหนังตะลุง

กลุ่มงานศิลปหัตถกรรม ประเภทงานหัตถศิลป์ไทย

ประเภทงานหัตถกรรม :
เครื่องหนัง
กลุ่มวัฒนธรรม :
สำหรับการนำศิลปะการแสดงหนังตะลุงเข้ามาในประเทศไทยนั้น สันนิษฐานว่าหนังตะลุงมีมาไม่ต่ำกว่า 200 ปี แล้ว โดยมีตำนานโบราณเล่าขานกันว่า...มีนายกองช้าง ชื่อนายหนักทอง นายก้อนทอง ได้อาศัยพาหนะช้างขี่ไปในดินแดนแถบประเทศอินโดนีเซีย จนได้ไปพบชาวมุสลิมกำลังละเล่นหนังวายัง (วายังกูลิต) บริเวณกองไฟซึ่งใช้แสงจากกองไฟสะท้อนผ่านตัวหนังทำให้เกิดภาพตัวละครออกมาให้ได้ชม โดยในการแสดงวายังในประเทศอินโดนีเซียนั้นนิยมเล่นเรื่องรามเกียรติ์ (รามายณะ) เป็นเรื่องหลัก ภายหลังจากที่นายหนักทอง นายก้อนทอง ได้รับชมหนังวายังแล้วจึงได้นำการแสดงชนิดนี้กลับมาประยุกต์ให้เข้ากับสภาพท้องถิ่นภาคใต้ของไทยในยุคนั้นด้วยการเปลี่ยนภาษาที่ใช้ในการแสดงจากภาษาอินโดนีเซียมาเป็นภาษาไทย รวมถึงการใช้จอผ้าขาวขึงแทนจนเกิดเงาจากกองไฟแล้วจึงนำรูปไปทับเพื่อให้เกิดเป็นแสงเงาจากตัวหนังตะลุง แต่ยังคงเอกลักษณ์การใช้ขนาดของตัวหนังตะลุงที่มีขนาดเล็กเหมือนกันกับการแสดงหนังวายังอยู่ ส่งผลให้ต่อมาการแสดงหนังตะลุง ได้เผยแพร่ไปยังท้องถิ่นอื่นๆในภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพร ไปจนถึงจังหวัดนราธิวาส โดยเฉพาะในจังหวัดสงขลา นครศรีธรรมราช และพัทลุง ถือเป็นจังหวัดที่มีความนิยมเล่นหนังตะลุงเป็นอย่างมาก
วัสดุ :
หัวใจสำคัญลำดับแรกของการแกะหนังตะลุงคือ การเลือกหนังสำหรับใช้แกะเป็นตัวหนังตะลุงซึ่งสามารถที่จะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1.ตัวหนังธรรมชาติ คือ หนังวัว หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า (หนังทั้งขน) เมื่อซื้อมาแล้วต้องนำมาทำการล้างเลาะเนื้อ เลาะพังผืดออกทั้งหมด ส่วนอีกด้านหนึ่งก็ทำการขูดขนออกให้หมดเช่นกันซึ่งในการขูดนั้นต้องนำหนังมาแช่น้ำก่อนทำการขูด ปัจจุบันขั้นตอนการขูดนั้นใช้ลูกหมู (เครื่องเจียร์) สำหรับใช้ในการปัดขนออกจากผิว เมื่อทำกรรมวิธีนี้แล้วจะได้ออกมาเป็นแก้วหนังที่มีความบางจะเลือกใช้สำหรับทำรูปที่มีสีสัน หรือรูปที่ใช้ลวดลายมากได้ ส่วนหนังที่ไม่ได้ทำการขูดขนออก (หนังหนา) นิยมนำมาทำเป็นรูปตัวตลกที่ไม่มีการใช้ลวดลายหรือสีมาก เช่น รูปนายหนูนุ้ย นายศรีแก้ว นายเท่ง นายพูล เรียกรูปเหล่านี้ว่า รูปเสนา หรือ รูปไพร่ นอกจากนี้แล้วยังสามารถใช้หนังสัตว์ชนิดอื่นมาประกอบขึ้นเป็นตัวละครได้เช่นกันนอกเหนือจากหนังวัว โดยการแกะสลักหนังตะลุงในสมัยก่อนมีความเชื่อกันว่าหากต้องการแกะรูปตัวตลกให้ใช้หนังหมี ส่วนรูปพระฤาษีต้องใช้หนังเสือในการแกะ 2. ตัวหนังฟอก หรือ หนังสังเคราะห์ คือ หนังสัตว์ที่ฟอกมาจากโรงงานจนได้แก้วหนังที่เป็นหนังสังเคราะห์ซึ่งมีแก้วหนังที่ให้ความใสกว่าหนังสัตว์จากธรรมชาติ สามารถนำมาแกะได้โดยไม่ต้องผ่านกรรมวิธีอื่นอีกซึ่งมีความสะดวกมากเมื่อนำมาใช้งาน สำหรับในบางกรณีที่ตัวละครนั้นมีสีผิวใกล้เคียงกับสีผิวของคนอาจไม่ต้องใช้หนังสีขาวในการแกะแต่เลือกใช้หนังสีเหลืองแทนเนื่องจากมีความหนา คงทนและมีอายุการใช้งานที่นานกว่า เช่น รูปยักษ์ รูปไพร่ รูปที่ต้องใช้สีคล้ายคน หรือ รูปพระเอกที่มีวิถีชีวิตพื้นบ้าน นอกจากจะทำเป็นตัวหนังสำหรับใช้เชิดในการแสดงหนังตะลุงให้กับนายหนังคณะต่างๆ และคณะของตนเองในชื่อคณะ “หนังกิจ คชรัตน์” แล้ว นายกิจยังทำตัวหนังใส่กรอบเป็นของตกแต่งรวมถึงนำเศษหนังมาทำเป็นพวงกุญแจสร้างมูลค่าเพิ่มให้มากขึ้น ตัวหนังตะลุงที่ออกจำหน่าย มีส่งออกไปถึงมาเลเซียและอินโดนีเซียที่ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งหนังตะลุงที่มีประวัติและมีชื่อเสียง ยังต้องยอมรับในฝีไม้ลายมือของการสร้างสรรค์ผลงานตัวหนังของนายกิจ คชรัตน์
อายุ/ปีที่ผลิต :
2562
รายละเอียดชิ้นงาน

หัวใจสำคัญลำดับแรกของการแกะหนังตะลุงคือ การเลือกหนังสำหรับใช้แกะเป็นตัวหนังตะลุงซึ่งสามารถที่จะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1.ตัวหนังธรรมชาติ คือ หนังวัว หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า (หนังทั้งขน) เมื่อซื้อมาแล้วต้องนำมาทำการล้างเลาะเนื้อ เลาะพังผืดออกทั้งหมด ส่วนอีกด้านหนึ่งก็ทำการขูดขนออกให้หมดเช่นกันซึ่งในการขูดนั้นต้องนำหนังมาแช่น้ำก่อนทำการขูด ปัจจุบันขั้นตอนการขูดนั้นใช้ลูกหมู (เครื่องเจียร์) สำหรับใช้ในการปัดขนออกจากผิว เมื่อทำกรรมวิธีนี้แล้วจะได้ออกมาเป็นแก้วหนังที่มีความบางจะเลือกใช้สำหรับทำรูปที่มีสีสัน หรือรูปที่ใช้ลวดลายมากได้ ส่วนหนังที่ไม่ได้ทำการขูดขนออก (หนังหนา) นิยมนำมาทำเป็นรูปตัวตลกที่ไม่มีการใช้ลวดลายหรือสีมาก เช่น รูปนายหนูนุ้ย นายศรีแก้ว นายเท่ง นายพูล เรียกรูปเหล่านี้ว่า รูปเสนา หรือ รูปไพร่ นอกจากนี้แล้วยังสามารถใช้หนังสัตว์ชนิดอื่นมาประกอบขึ้นเป็นตัวละครได้เช่นกันนอกเหนือจากหนังวัว โดยการแกะสลักหนังตะลุงในสมัยก่อนมีความเชื่อกันว่าหากต้องการแกะรูปตัวตลกให้ใช้หนังหมี ส่วนรูปพระฤาษีต้องใช้หนังเสือในการแกะ

  1. ตัวหนังฟอก หรือ หนังสังเคราะห์ คือ หนังสัตว์ที่ฟอกมาจากโรงงานจนได้แก้วหนังที่เป็นหนังสังเคราะห์ซึ่งมีแก้วหนังที่ให้ความใสกว่าหนังสัตว์จากธรรมชาติ สามารถนำมาแกะได้โดยไม่ต้องผ่านกรรมวิธีอื่นอีกซึ่งมีความสะดวกมากเมื่อนำมาใช้งาน สำหรับในบางกรณีที่ตัวละครนั้นมีสีผิวใกล้เคียงกับสีผิวของคนอาจไม่ต้องใช้หนังสีขาวในการแกะแต่เลือกใช้หนังสีเหลืองแทนเนื่องจากมีความหนา คงทนและมีอายุการใช้งานที่นานกว่า เช่น รูปยักษ์ รูปไพร่ รูปที่ต้องใช้สีคล้ายคน หรือ รูปพระเอกที่มีวิถีชีวิตพื้นบ้าน นอกจากจะทำเป็นตัวหนังสำหรับใช้เชิดในการแสดงหนังตะลุงให้กับนายหนังคณะต่างๆ และคณะของตนเองในชื่อคณะ “หนังกิจ คชรัตน์” แล้ว นายกิจยังทำตัวหนังใส่กรอบเป็นของตกแต่งรวมถึงนำเศษหนังมาทำเป็นพวงกุญแจสร้างมูลค่าเพิ่มให้มากขึ้น ตัวหนังตะลุงที่ออกจำหน่าย มีส่งออกไปถึงมาเลเซียและอินโดนีเซียที่ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งหนังตะลุงที่มีประวัติและมีชื่อเสียง ยังต้องยอมรับในฝีไม้ลายมือของการสร้างสรรค์ผลงานตัวหนังของนายกิจ คชรัตน์