ผ้าไหมมัดหมี่ลายนาคเกี้ยว

กลุ่มงานศิลปหัตถกรรม ประเภทงานหัตถศิลป์ไทย

ผ้าไหมมัดหมี่ลายนาคเกี้ยว  เป็นลายที่ทธนกฤต คล้ายหงส์ พัฒนาขึ้นโดยนำลายดั้งเดิมมาปรับรูปแบบให้ดอกลายใหญ่ขึ้น และเอาลายหน้านางของผ้าออกและเพิ่มเชิงผ้าแทน เกิดเป็นความงดงามที่ร่วมสมัยและทำให้ผู้บริโภคทุกวัยนำมาสวมใส่ได้ง่ายขึ้น

ประเภทงานหัตถกรรม :
เครื่องทอ
กลุ่มวัฒนธรรม :
อีสาน
ผู้สร้างสรรค์ :
ขนาด :
กว้าง 40 นิ้ว ยาว 160 นิ้ว
วัสดุ :
เส้นไหม
อายุ/ปีที่ผลิต :
2562
เว็บไซต์แบรนด์/ชุมชน - เพจชุมขน :
รายละเอียดชิ้นงาน
  • ทอด้วยเทคนิคมัดหมี่ (เส้นพุ่ง)  ศิลปะการทอผ้าชนิดหนึ่งโดยการมัดย้อมด้ายหรือเส้นไหมให้เกิดสีและลวดลายแล้วจึงนำไปทอเป็นผืนผ้า ซึ่งเทคนิคมัดหมี่มีการทำใน 3 รูปแบบคือ มัดหมี่เส้นพุ่ง มัดหมี่เส้นยืน และมัดหมี่เส้นพุ่งและเส้นยืน
  • ลักษณะเฉพาะของผ้ามัดหมี่คือ รอยซึมของสีที่วิ่งไปตามบริเวณของลวดลายที่ไม่ถูกมัดโดยเชือกหรือวัสดุไม่ติดสี และการเหลื่อมล้ำในตำแหน่งของเส้นด้าย เมื่อถูกนำขึ้นกี่หรือในขณะที่ทอ ซึ่งจะทำให้เกิดลักษณะลายที่คลาดเคลื่อนต่างจากผ้าทอชนิดอื่นๆ โดยหากผู้ทอต้องการให้ลวดลายมีหลากหลายสีต้องมัดและย้อมสีทับกันหลายครั้งเพื่อให้ได้สีสันตามต้องการ ด้วยเหตุนี้ผู้ทอจึงต้องใช้ความแม่นยำในการมัดย้อม การขึ้นด้ายบนกี่ ตลอดจนการทอ เพื่อให้เกิดเป็นผืนผ้าที่สวยงาม
ข้อมูลแหล่งที่มา