ผ้าพันคอพิมพ์ลายธรรมชาติ เป็นการนำผ้าฝ้ายสีพื้นมาพิมพ์ลายด้วยวัสดุจากธรรมชาติ โดยจะใช้ใบไม้ที่มีอยู่ตามท้องถิ่นจังหวัดอำนาจเจริญ ย้อมสีธรรมชาติ โดยนำใบไม้มาแปะลงบนผ้า มาม้วนแล้วนำไปนึ่ง จะได้สีเขียวและสีเหลืองจากธรรมชาติ ได้เป็นผ้าคลุมไหล่ที่มีความสวยงาม สีสันสดใส และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นิยมใช้ตกแต่งเครื่องแต่งกาย
เทคนิคที่ใช้ :
Eco printing เป็นกระบวนการพิมพ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้วิธีการพิมพ์ผ้าด้วยใบไม้ ถ่ายโอนสีและโครงสร้างจากใบไม้สู่ผ้าที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ฝ้าย ไหม เป็นต้น
กระบวนการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (โดยละเอียด) :
1. การเตรียมฝ้าย
1.1 การเตรียมด้ายยืน คือ ด้ายที่ใช้เป็นพื้นในการทอผ้าเป็นด้ายแกนกลางของผ้า ซึ่งเริ่มจากการแยกเส้นใยผ้าด้ายคือเสื้อ ออกเป็นเส้นแยกสีต่างๆ แล้วนาด้ายที่แยกออกมาได้ไปปั่นใส่อัก เมื่อได้เส้นด้ายที่ปั่นใส่อักมาก พอแล้ว จึงนำไปค้นใส่หลักเฝือ (หลักค้น) เมื่อได้เส้นด้ายที่ค้นใส่หลักเฝืองมากพอแล้ว จะเก็บผ้าเป็นเครือแล้วจึง นำเครือผ้าที่ได้ไปสืบใส่ฟืม ก่อนจะเริ่มการทอผ้า
1.2 การเตรียมด้ายพุ่ง คือ ด้ายที่ทอในหลายขวางของเนื้อผ้า เป็นด้ายที่อยู่ในหลอดด้ายมีสีต่างๆ ตามต้องการ แล้วนำไปใส่กระสวยก่อนที่จะนำไปทอ ซึ่งได้มาจากขั้นตอนเดียวกันกับด้ายยืน จะแตกต่าง ๆ กันก็แค่การนำด้ายที่ได้จากการปั่นใส่อัก แล้วนำมาปั่นใส่หลอดด้าย แล้วนำไปบรรจุใส่รางกระสวยก่อนไปทอเป็นด้ายพุ่ง เพื่อใช้สำหรับพุ่งไปในช่องด้ายยืนขณะทอผ้าในกี่
2. การพิมพ์ลายผ้า
2.1 นำผ้าฝ้ายที่จะย้อม นำไปซักให้สะอาด ผึ่งให้แห้ง
2.2 นำไปแช่ในน้ำที่ผสมสารส้ม ด้วยอัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 2 ลิตร เป็นระยะเวลานาน 30 – 60 นาที
2.3 นำใบไม้ไปชุบในน้ำสนิมเหล็กประมาณ 30 – 60 นาที
2.4 นำผ้าไปชุบน้ำสารส้ม
2.5 นำใบไม้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นที่แช่น้ำสนิมเหล็ก ขึ้นมาสะบัด สะบัดน้ำออกให้หมด แล้วนำไปวางบนผ้า จากนั้นนำพลาสติกมาคลุมทับเพื่อกันไม่ให้สีของใบไม้แผ่กระจายไปเปรอะผ้าส่วนที่ไม่ต้องการ แล้วมัดให้แน่น ให้ใบไม้แนบสนิทกับผ้ามากที่สุด ป้องกันไม่ให้สีของใบไม้แผ่กระจายลงผืนผ้าในส่วนที่ไม่ต้องการ
2.6 นำไปนึ่งหรือต้ม ถ้าใช้เตาแก๊ส ใช้ไฟระดับอ่อนที่สุดเป็นเวลา 90 – 120 นาที ทิ้งไว้จนเย็นลง และทิ้งไว้จนได้สีตามต้องการ สีที่ได้ก็จะติดทนนานตามที่ต้องการ