พรมเสื่อกก

กลุ่มงานศิลปหัตถกรรม ประเภทงานหัตถศิลป์ไทย

“เสื่อพรมกก” เป็นเสื่อนวดเพื่อสุขภาพที่มีการสานสลับกันระหว่างเส้นกกธรรมชาติและเส้นกกย้อมสีสังเคราะห์ ได้แก่ สีฟ้า สีน้ำเงิน และสีบานเย็น

ประเภทงานหัตถกรรม :
เครื่องจักสาน
กลุ่มวัฒนธรรม :
ชนเผ่ากะเลิง
ผู้สร้างสรรค์ :
ขนาด :
เส้นผ่าศูนย์กล้าง 140 ซม.
วัสดุ :
ต้นกกตากแห้ง
อายุ/ปีที่ผลิต :
2564
รายละเอียดชิ้นงาน

เทคนิคที่ใช้ : สานทอมือและเย็บขึ้นรูป
กระบวนการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (โดยละเอียด) :

  1. เตรียมเส้นกก : นำต้นกกมาตากแดดให้แห้ง  7-10 วัน จากนั้นนำมาซักล้าง โดยการใช้น้ำเปล่าราดให้นิ่ม แล้วตามด้วยผงซักฟอกเพื่อกำจัดคราบดำและคราบสกปรกออก แล้วจึงนำมาตากอีกรอบ เป็นเวลา 20 นาที
  2. การคัดเลือกเส้นกก : หลังจากทำความสะอาดเส้นกกตากแห้งแล้ว จึงคัดเลือกเส้นกกที่มีขนาดใกล้เคียงกัน
  3. การย้อมสีเส้นกก : นำเส้นกกที่เตรียมไว้ มาย้อมสีสังเคราะห์หรือสีธรรมชาติ แล้วจึงตากไว้ให้แห้งอีกครั้ง ก่อนนำไปทอสาน
  4. การสานขึ้นรูป : นำเส้นกกที่เตรียมไว้มาสานขึ้นรูปเป็นเสื่อวงกลม เริ่มจากการสานแป้นสี่เหลี่ยมให้เส้นกกแผ่ออกไปเป็น 4 เส้น สำหรบเป็นโครงสานเสื่อ จากนั้นจึงนำเส้นกก 2 เส้นมาบิดเกลียวให้เป็น 1 เส้น แล้วนำมาสานสับหว่างกับตัวโครงทีละเส้น โดยลวดลายการสานขึ้นอยู่กับการใช้สีเส้นกกตามจินตนาการของผู้สานเสื่อ และอายุของเส้นกก เช่น อายุ 3 เดือน จะไม่มีลวดลาย ดังนั้นเสื่อที่ได้ก็จะเป็นสีขาว ส่วนกก 5 เดือนก็จะมีลวดลาย
ข้อมูลแหล่งที่มา