แหวนพิรอดคั่นเพชร

กลุ่มงานศิลปหัตถกรรม ประเภทงานหัตถศิลป์ไทย

“แหวนพิรอดคั่นเพชร” เป็นเครื่องประดับทองโบราณสกุลช่างเพชรบุรีที่ตกแต่งด้วยอัญมณีนพเก้าตามความเชื่อโบราณว่า แคล้วคลาดปลอดภัยจากสิ่งอันตราย คั่นตกแต่งด้วยเพชร ระหว่างพลอยนพเก้าสี ผนวกกับลักษณะของแหวนพิรอด ซึ่งคำว่า “พิรอด” สื่อความหมายคือการแคล้วคลาดปลอดภัยจากสิ่งอันตราย

ประเภทงานหัตถกรรม :
เครื่องโลหะ
ผู้สร้างสรรค์ :
ขนาด :
เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.7 ซม.
วัสดุ :
ทองคำแท้ 99.99% และอัญมณี
อายุ/ปีที่ผลิต :
2564
รายละเอียดชิ้นงาน

เทคนิคที่ใช้ : การขึ้นรูปแหวนและกะเปาะแบบโบราณ
กระบวนการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (โดยละเอียด) :

  1. การหลอมทอง : นำทองคำบริสุทธิ์มาหลอมในเบ้าหลอม แล้วใช้ไฟเป่าให้ความร้อนจนทองคำหลอมละลายเป็นของเหลว จึงเททองลงในแบบพิมพ์ซึ่งเป็นรางเหล็กขนาดเท่าดินสอดำ เนื่องจากทองคำมีความยืดหยุ่นสูงและง่ายต่อการขึ้นรูป โดยเครื่องมือที่ใช้ยังคงเป็นเครื่องมือที่ใช้มาตั้งแต่อดีต เช่น โต๊ะทำทอง ทั่ง ค้อน กรรไกร ไม้พัน เป่าแล่น เป็นต้น
  2. การขึ้นรูปทอง : จากนั้นจึงนำทองที่หลอมแล้ว แกะออกจากพิมพ์แท่งทอง ขึ้นรูปด้วยการตีทองหรือแผ่ทอง การตีทองจะใช้ทั่งที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และใช้ค้อนเหล็กที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในการตีทอง การตีทองหากใช้กำลังในการตีทองไม่สม่ำเสมอและออกแรงไม่สม่ำเสมอ จะทำให้ผิวของทองไม่เรียบเสมอกัน ภาษาของช่างทองเรียกว่า “บ้าเหลี่ยม” ส่วนการใช้ค้อนนั้นอาจใช้หน้าค้อนทั้งสองหน้าในการตีทองก็ได้
  3. การประกอบทองรูปพรรณ : เป็นขั้นตอนซึ่งช่างทองจะนำส่วนต่างๆ ซึ่งผ่านกรรมวิธีในขั้นต้นซึ่งอาจจะเป็นทองที่หลอมเตรียมทำแหวน ทองแผ่น ลวดทองคำขนาดต่าง ๆ ไข่ปลาขนาดต่าง ๆ นำมาประกอบตามกรรมวิธีของทองรูปพรรณแต่ละแบบ โดยวิธีการทำดังนี้ การสาน/การดัดเคาะโลหะขึ้นรูป/การแกะและการดุน /การฉลุ /การติดผลึก /การฝังผลึก /การเกาะ
  4. การตกแต่งทองรูปพรรณ : ทองรูปพรรณฝีมือช่างเมืองเพชรมีลักษณะเด่นก็คือ การตกแต่งรายละเอียดของทองรูปพรรณด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การประดับด้วยไข่ปลา และการตะไบ
  5. การต้มและย้อมทอง : เป็นการทำความสะอาดทองรูปพรรณให้ปราศจากน้ำประสานทองซึ่งจะติดอยู่ตามขอบ ซอกต่าง ๆ ส่วนในการย้อมทอง เป็นการทำทองให้มีสีสวย มีความสุกปลั่งยิ่งขึ้นมาก
ข้อมูลแหล่งที่มา