ผ้าซิ่นจกไหมคำสอดดิ้นทอง หรือ ซิ่นไหมราชสำนัก เป็นผลผลิตทางวัฒนธรรมที่มีการสืบทอดกันมากว่า 200 ปี ครูประนอม ทาแปง แกะลายผ้าผืนนี้ ด้วยการแกะลายผ้าจากภาพถ่ายที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์คุ้มหลวงเมืองแพร่ ของเจ้าแม่บัวไหลภริยาของเจ้าเมืองแพร่ ที่สันนิษฐานว่าเป็นเชื้อสายกลุ่มชาติพันธุ์ไท- ยวน โยนกเชียงแสน เพราะผ้าซิ่นที่เจ้าแม่บัวไหลใช้เป็นลายโบราณของกลุ่มชาติพันธุ์ไท- ยวน ที่มีมากกว่า 100 ลาย ที่ปัจจุบันจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์บ้านคุ้มเจ้าหลวง จังหวัดแพร่ ผ้าซิ่นจกไหมคำ (ดิ้นทอง) จึงถือเป็นซิ่นไหมราชสำนักเพราะนุ่งห่มในกลุ่มสตรีชั้นสูงของอาณาจักรโยนกเชียงแสน ซึ่งครูประนอม ทาแปง ได้แกะลายและวัสดุการทอให้คงเดิมผสมผสานกับการผูกลายโบราณอย่างลายนกกินน้ำร่วมต้น ด้วยหวังอนุรักษ์ผ้าซิ่นไหมต่อจกโบราณให้คงอยู่สืบไป ทอจากไหมย้อมสีธรรมชาติทั้งผืน สีพื้นซิ่นเป็นสีแดง มีองค์ประกอบของผ้าตามแบบผ้าซิ่นโบราณไท-ยวน ได้แก่
ผ้าซิ่นไหมจกไหมคำสอดดิ้นทอง เป็นลักษณะของซิ่นตีนจกไหมโบราณที่ใช้ในราชสำนักโยนกเชียงแสน โดยกลุ่มสตรีชั้นสูงมักนิยมสอดดิ้นเงินและดิ้นทอง ซึ่งได้วัสดุจากอินเดีย ที่มีอายุกว่า 200 ปี ตัวซิ่นของยุคนี้เป็นซิ่นลายขวาง เย็บตะเข็บเดียว สีที่เด่นคือ สีแดง สีเหลือง และสีเขียว ลวดลายบนตัวซิ่นใช้เทคนิคจกด้วยลายต๋าหมู่เหลืองนิยมสอดดิ้นเงินหรือดิ้นทองเข้าไป
เทคนิคที่ใช้ : การทอจก
กระบวนการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (โดยละเอียด) :
สถานที่