องค์พระพิฆเนศหินทรายเขียว

กลุ่มงานศิลปหัตถกรรม

องค์พระพิฆเนศหินทรายเขียว เป็นงานแกะสลักหินรูปเคารพในศาสนาแบบลอยตัว ซึ่งนายกุณฑฬ โสวาปี สร้างจากความศรัทธาและความเคารพนับถือในองค์พระพิฆเนศ จึงมีความคิดในการสร้างชิ้นงานองค์พระพิฆเนศตามแบบศิลปะขอมโบราณตามแนวทางของตนเอง องค์พระพิฆเนศสร้างสรรค์ขึ้นตามต้นแบบของงานแกะสลักหินโบราณศิลปะขอมเกาะแกร์ โดยนำหินทรายเขียวมาจากแหล่งหินทรายโบราณที่อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นแหล่งของหินทรายชั้นดีสีต่าง ๆ เช่น สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว และสีชมพู หินเหล่านี้พบมากในพื้นที่เชิงเขาใหญ่ มีคุณสมบัติเหนียวมีความแข็งน้อย จึงสามารถสลักขึ้นรูปงานศิลปะโบราณได้กลมกลึง อ้อนช้อยงดงาม  ง่ายต่อการขึ้นชิ้นงานหินแกะสลัก ได้รับความนิยมกว่างานหินแกรนิต ที่มักใช้ในงานแกะสลักที่ต้องการเน้นความเงางามแข็งแรงของเนื้อหิน

ประเภทงานหัตถกรรม :
เครื่องหิน
กลุ่มวัฒนธรรม :
ผลิตจากต้นแบบชิ้นงานศิลปะขอมเกาะแกร์
ผู้สร้างสรรค์ :
ขนาด :
ตัวองค์รวมฐาน สูง 43 เซนติเมตร กว้าง 24 เซนติเมตร ลึก 19 เซนติเมตร
แหล่งที่มา :
บ้านช่างสลักหิน ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกาญจนาภิเษก (วิทยาลัยในวัง) อ.เมืองพระนครศรีอยุธยาจ.พระนครศรีอยุธยา
วัสดุ :
หินทรายเขียว
อายุ/ปีที่ผลิต :
2565
รายละเอียดชิ้นงาน

เทคนิคที่ใช้ : การแกะสลักหินลอยตัวด้วยมือ
กระบวนการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (โดยละเอียด) :

  1. การเตรียมภาพแกะสลักหิน
    นำภาพพระพิฆเนศ จากภาพต้นแบบถ่ายสำเนาขยายให้เท่ากับขนาด ชิ้นงานท่ีต้องการ เพ่ือกำหนดขนาดและสัดส่วนชิ้นงาน และวาดภาพร่างลงบนกระดาษตามขนาดที่ต้องการ
  2. การเตรียมหินสำหรับแกะสลัก
    คัดเลือกหินทรายเขียวก้อนที่มีขนาดเหมาะสมกับชิ้นงาน ทั้งประเภทของ หินทราย สีของหินทราย และมีขนาดที่เหมาะสมกับแบบที่กำหนดไว้โดย หินทรายที่ใช้ต้องเป็นหินทรายที่มาจากแหล่งหินทรายโบราณในอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
  3. การขึ้นรูปและสลักหิน นำกระดาษภาพร่างตามขนาดที่ต้องการวางบนหินแล้วร่างแบบลงบนหินด้วยดินสอ ทั้งนี้ในการทำต้องมีการวางแผนการแกะ ไม่สามารถเริ่มจาก ส่วนใดก็ได้ เนื่องจากหินทรายก้อนเป็นหินหน้าเรียบ วิธีการแกะสลักหิน ต้องแกะลดหลั่นกันลงมา ชิ้นงานจึงจะมีมิติที่สวยงาม แล้วจึงสกัดหินลงลายบนเส้นร่างให้ลึกคมชัดขึ้น จากนั้นสกัดหินส่วนที่ไม่ต้องการออกจากชิ้นงาน และสกัดเข้าหุ่นตามแบบไว้ ให้พอดีกับขนาดและสัดส่วน เมื่อสลักขึ้นรูปชิ้นงานเรียบร้อยแล้ว สกัดแต่งส่วนรายละเอียดด้วยสิ่ว หรือเหล็กสกัดแบบและขนาดต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความปราณีตให้ชิ้นงาน จากนั้นสกัดแต่งใบหน้าให้ตรงตามต้นแบบ
  4. การขัดพื้นผิวทำความสะอาดชิ้นงาน
    เมื่อได้ผลงานที่สำเร็จตามต้องการแล้ว ขัดผิวชิ้นงานให้เรียบเนียนด้วยหินขัดและกระดาษทราย (บริเวณพื้นผิวกว้างใช้กระดาษทรายหยาบ บริเวณพื้นผิวส่วนแคบและลึกใช้กระดาษทรายละเอียด)  จากน้ันปัดและล้างทำความสะอาดชิ้นงานเพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ของชิ้นงาน


ข้อมูลแหล่งที่มา
แหล่งเรียนรู้งานศิลปหัตถกรรมที่เกี่ยวข้อง
บ้านช่างสลักหิน ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกาญจนาภิเษก (วิทยาลัยในวัง) อ.เมืองพระนครศรีอยุธยาจ.พระนครศรีอยุธยา
ดูรายละเอียด