ปิ่นปักผมแม่แจ่มไม้แกะสลัก

กลุ่มงานศิลปหัตถกรรม ประเภทงานหัตถศิลป์ไทย

ปิ่นปักผมแม่แจ่มไม้แกะสลักเป็นชิ้นงานที่ผู้เป็นสามีของครูบัวจันทร์ริเริ่มสร้างสรรค์ประมาณ 5 ปีก่อน ซึ่งมาจากความต้องการของกลุ่มลูกค้าชาวต่างประเทศที่มีความสนใจผลิตภัณฑ์จากไม้ และต้องการปิ่นปักผมแม่แจ่มที่ทำจากไม้สัก ซึ่งกระบวนการทำต้องใช้ทักษะฝีมือ และความอดทนเป็นอย่างมา เนื่องจากปิ่นมีขนาดเล็ก และต้องใช้ไม้สักที่มีอายุและขนาดที่เหมาะสม ดังนั้นปิ่นปักผมแม่แจ่มไม้แกะสลักจึงไม่ได้เป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่พบเห็นได้เป็นประจำ และใช้เวลาในการสร้างสรรค์ประมาณ 1 วัน ต่อ 1 อัน

ทั้งนี้ปิ่นปักผม ถือเป็นเครื่องประดับศีรษะที่ใช้ขัดมวยผมให้อยู่ทรงของสตรีชาวล้านนา ใช้ประดับเสริมความงามร่วมกับการใช้ดอกไม้สดที่มีกลิ่นหอมประดับมวยผมตามความเชื่อเรื่องการบูชาขวัญบนศีรษะของชาวล้านนาโบราณ ตลอดจนเพื่อความเป็นสิริมงคลและเป็นการแสดงความเคารพต่อพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นสิ่งเคารพสูงสุดของพุทธศาสนิกชน

ประเภทงานหัตถกรรม :
เครื่องไม้
กลุ่มวัฒนธรรม :
้ล้านนา
ผู้สร้างสรรค์ :
ขนาด :
ปิ่นปักผมขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 ซม. ยาว 10 ซม., ปิ่นปักผมขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง 3 ซม. ยาว 15 ซม.
วัสดุ :
ไม้สัก
อายุ/ปีที่ผลิต :
2565
รายละเอียดชิ้นงาน

เทคนิคที่ใช้: เทคนิคการขึ้นรูปโลหะ และการตอกโลหะ

กระบวนการสร้างสรรค์ชิ้นงาน  :

  1. เตรียมไม้สักให้ได้ขนาดตามต้องการ โดยให้ไม้สักขนาดเล็กที่ได้จากกระบวนการทำงานแกะสลักขนาดใหญ่ หรืองานทำเฟอร์นิเจอร์เพื่อใช้ในครัวเรือน

  2. กลึงไม้สักเป็นรูปทรงปิ่นปักผมแม่แจ่มที่มีทั้งส่วนหัวปิ่น และส่วนก้านปิ่น

  3. แกะสลักส่วนหัวปิ่นโดยใช้สิ่วและค้อนขนาดเล็กสลักเป็นลวดลายเพื่อให้ได้ปิ่นปักผมแม่แจ่มทรงยอดฉัตรตามต้องการ

  4. ตกแต่งส่วนก้านและสวนลวดลายด้วยกระดาษทรายละเอียด

ข้อมูลแหล่งที่มา