ผ้าไหมพี้นเรียบ

กลุ่มงานศิลปหัตถกรรม ประเภทงานหัตถศิลป์ไทย

ผ้าไหมพี้นเรียบ ถือว่าเป็นผ้าเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของจังหวัดยโสธร มีลักษณะเงางามเนื่องจากทอด้วยไหมเส้นเล็ก เนื้อเนียนละเอียด ผ้าไหมพื้นเรียบผืนนี้ใช้ไหมทอ 4 เส้น ทอด้วยมือ 2 ตะกอ สีที่ย้อมเป็นสีธรรมชาติจากใบขี้เหล็กได้สีเหลือง ส่วนเส้นยืนย้อมด้วยแก่นขนุน จะได้เส้นไหมเป็นสีเหลืองอ่อน ๆ ออกสีครีมนวล โดยเนื้อผ้าเนียนเรียบ จะให้ความรู้สึกที่เบาสบายเนื่องจากเนื้อผ้าไหมทอจากใยธรรมชาติจะมีความโปร่งเบาและระบายอากาศได้ดีในหน้าร้อน นิยมนำผ้าไหมพื้นเรียบมาตัดชุดลำลองที่ต้องการความเบาสบาย หรือชุดสำหรับออกงานสำคัญ

ประเภทงานหัตถกรรม :
เครื่องทอ
ผู้สร้างสรรค์ :
ขนาด :
900x1400 เซนติเมตร
วัสดุ :
ผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติ
อายุ/ปีที่ผลิต :
2564
รายละเอียดชิ้นงาน

เทคนิคที่ใช้ :  การทอผ้า 2 ตะกอ
กระบวนการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (โดยละเอียด) :
1. การเตรียมเส้นไหม แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

  • การเตรียมไหมเส้นพุ่ง คือ การเลือกลายแล้วทำการวัดความยาวของฟันหมีฟืม เช่น ถ้าใช้ขนาดของฟันหวี 42 นิ้ว ให้ใช้โฮงหมี่ขนาดน้อยกว่าฟันหวี 1เซนติเมตร เพื่อให้หัวหมี่มีขนาดสั้นกว่าความยาวของฟันหวี เพราะในขณะที่ทอผ้านั้น จะเกิดแรงตึงของเส้นพุ่ง ทำให้หน้ากว้างของฟันหวี 42 นิ้ว มีขนาดเท่ากับความยาวของหัวหมี่พอดี ส่งผลให้ผ้าเรียบเสมอกันทั้งผืน
  • การเตรียมไหม (ฝ้ายเส้นยืน) คือ การค้นหูกหรือค้นเครือ เป็นกรรมวิธีนำเอาเส้นไหมที่เตรียมไว้สำหรับเป็นไหมเครือไปค้น (กรอ) ให้ได้ความยามตามจำนวนผืนของผู้ทอผ้าไหมตามที่ต้องการ

2. การสืบหูก : เป็นการนำเส้นไหมหลังการค้นเส้นยืนมาต่อเข้ากับฟืมที่มีเส้นไหมเก่าอยู่แล้ว โดยจะมัดต่อให้ครบทุกเส้นหรือจนครบฟันฟืม
3. การม้วนเส้นยืน : เมื่อต่อเส้นไหมเข้ากับฟืมแล้ว เราจะนำเส้นไหมนั้นมากางออกแล้วประกบกับไม้กระดาน จากนั้นม้วนเก็บเส้นไหมเพื่อเตรียมเส้นยืนสำหรับขึ้นกี่ให้มีความยาวตึงเสมอกัน ง่ายต่อการทอ โดยความยาวเส้นไหมขึ้นอยู่กับขนาดของฟืม
4. การทอผ้า : เป็นการนำหลอดที่ได้จากการกรอเส้นไหมเรียบร้อยแล้วไปใส่ลงในกระสวย แล้วทำการทอผ้าไหมโดยหยิบหลอดใช้ตามลำดับที่ร้อยเรียงหลอดไว้ การทอผ้าแบบ 2 ตะกอ ผ้าที่ทอแบบ 2 ตะกอ ผิวเรียบ ผ้าด้านหน้าและหลังสีเหมือนกัน จะบางกว่าผ้าที่ทอแบบ 4 ตะกอเมื่อใช้เส้นด้ายชนิดเดียวกัน

ข้อมูลแหล่งที่มา