ผ้าสะไบขิด หรือเรียกได้หลายชื่อว่า “ผ้าฝ้ายสไบ” หรือ “ผ้าเบี่ยง (ผ้าเบี่ยงบุญ)” เป็นผ้าที่ใช้สำหรับพาดไหล่ หรือห่มพาดเฉียง หรือเฉวียงบ่าไหล่อย่างผ้าสไบ เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องแต่งกายที่สำคัญมาก แสดงถึงความสุภาพเรียบร้อย นิยมใช้ห่มเมื่อมีงานพิธีสำคัญ ใช้ห่มไปงานบุญหรืองานพิธีต่าง ๆ ทั้งหญิงและชาย ลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นของผ้าทอลายขิด สามารถสังเกตได้จากลายซ้ำของเส้นพุ่งที่ขึ้นเป็นแนวสีเดียวกันตลอด มีลายซ้ำที่มีจุดจบแต่ละช่วงของลายเห็นได้ชัด สามารถนำเส้นไหมและเส้นฝ้ายมาทอได้ โดยทอด้วยมือ 4 ตะกอ สีที่ใช้ย้อมคือสีเคมีสีแดง ลายสีเหลืองและขาวสลับกัน มีเชิงผ้าทั้งสองฝั่ง
เทคนิคที่ใช้ : การทอขิด
กระบวนการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (โดยละเอียด) :
1. การฟอกย้อมสีเส้นไหม
2. การแยกเส้นไหมเข้าอัก
การแยกเส้นไหมเข้าอัก เป็นการนำเส้นไหมที่ตากแห้งไปใส่กงไม้เพื่อกวักเข้าอักหรือปั่นเข้ากับทอพีวีซีซึ่งใช้ชุดอุปกรณ์ปั่นไหมด้วยมอเตอร์ แล้วแยกเส้นไหมตามชนิดของไหมเพื่อเตรียมเส้นยืนสำหรับขึ้นกี่ (ไหมจะเส้นเล็กและเกลียวแน่น) และเส้นพุ่งสำหรับใส่กระสวยทอผ้า (เส้นไหมจะใหญ่กว่าและเกลียวแน่นพอประมาณ)
3. การเตรียมเส้นไหม แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
4. การขิด
“ผ้าขิด” เป็นการเรียกขานชื่อผ้าตามกระบวนการทอคือ ผู้ทอใช้ไม้เก็บชิดสะกิดช้อนเครือเส้นยืนขึ้น เป็นจังหวะตามลวดลายตลอดหน้าผ้า และพุ่งกระสวย สอดเส้นพุ่งพิเศษและเส้นพุ่งเข้าไปตลอดแนวเครือเส้นยืนที่ถูกงัดช้อนขึ้นนั้น ช่วงจังหวะของความถี่ห่างที่เครือเส้นยืนถูกกำหนดไว้ด้วยไม้เก็บขิดจึงเกิดเป็นลวดลายขิดขึ้น วิธีการทอผ้าแบบขิด จึงเป็นรูปแบบการทอผ้าที่สร้างลวดลายในขณะกำลังทอผ้า