ถาดผลไม้ลายดอกพิกุล

กลุ่มงานศิลปหัตถกรรม ประเภทงานหัตถศิลป์ไทย

ถาดผลไม้ลายดอกพิกุล เป็นผลงานจักสานลายขิด ที่นำความเชื่อที่ว่าต้นพิกุลเป็นต้นไม้ในสวนของพระอินทร์อันนำมาซึ่งความเป็นสิริมงคลต่อมนุษย์ พิกุลจึงเป็นดอกไม้ซึ่งมักมีบทบาทในงานพระราชพิธีซึ่งเป็นงานมงคล  ถือเป็นผลงานการผสมสานวัสดุธรรมชาติ 2 ชนิดเข้าด้วยกัน วัสดุที่ใช้ทำคือจากกกผสมกับไม้ไผ่ ใช้ความอ่อนและบางของกกในการสานปิดพื้นพิม ตัวถาดนั้นย้อมด้วยสีเคมี  โดยสานให้เป็นลวดลายดอกพิกุลมีความสวยงามตามธรรมชาติ สามารถนำไปใส่ผลไม้วางบนโต๊ะ และใช้ตกแต่งบ้านได้ ผลงานมีความแข็งแรงทนทาน

ประเภทงานหัตถกรรม :
เครื่องจักสาน
ผู้สร้างสรรค์ :
ขนาด :
กว้าง 7 ซม. ยาว 7.5 ซม. สูง 13 นิ้ว
วัสดุ :
กก หวาย ไม้ไผ่
อายุ/ปีที่ผลิต :
2549
รายละเอียดชิ้นงาน

เทคนิคที่ใช้ : การจักสานขึ้นรูป
กระบวนการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (โดยละเอียด) :

  1. การขึ้นโครงตะกร้า : ตัดก้นขึ้นโครงตะกร้า คือ ขั้นตอนการนำหวายทั้งต้นมาโค้งตามแบบรูปทรงตะกร้าที่ต้องการ ซึ่งขึ้นโครงตะกร้า (ใช้ลายขัด) คือการนำหวายที่เตรียมไว้มาสานเป็นลายขัด กับหวายที่ตัดก้นไว้ และจะมีหวายที่เป็นเส้นยืนหรือเส้นตั้ง หรือดิ้ว
  2. การเข้าแบบหรือเข้ารอง คือ การนำแบบหรือรองที่เตรียมไว้มาใส่ก้นตะกร้าที่เตรียมไว้ แล้วสานตามแบบ และจะมีเส้นหลักเรียกว่าดิ้ว เพื่อจะใช้หวายที่เตรียมไว้สานเป็นลาย
  3. การสาน คือ ขั้นตอนที่ต้องใช้ความละเอียดมากที่สุด สานตามลายที่ต้องการ โดยจะมี เส้นตอกซึ่งทำจากเส้นกก สองชนิด คือ ตอกยืน (ตอกตั้งหรือดิ้ว) และตอกนอน (ตอกสาน)
  4. การสาน หรือเม้นปาก คือ ขั้นตอนที่สานเป็นลายจนได้ตะกร้าตามต้องการ แล้วพับดิ้ว ที่เหลือลงมาและถักปากเพื่อเก็บความเรียบร้อย
  5. ใส่ขอบ คือ ขั้นตอนที่ถักปากเสร็จเรียบร้อยแล้ว นำหวายเป็นต้นขนาดเดียวกับที่ดีดก้น มาโค้งทำเป็นของปากกระเป๋า แล้วถักเป็นลายดอกพิกุล
  6. ทาน้ำมันชักเงา คือ การนำน้ำมันมาทาตะกร้าที่สานเสร็จแล้ว เพื่อให้ตะกร้าแข็งแรง ไม่ขึ้นรา มีความทนทาน
ข้อมูลแหล่งที่มา