กระเป๋าหางอวน ลายกล้วยไม้ป่า

กลุ่มงานศิลปหัตถกรรม ประเภทงานหัตถศิลป์ไทย

กระเป๋าหางอวนลายกล้วยไม้ป่า เป็นผลงานที่นำ “ดอกกล้วยไม้” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความร่ำรวยและความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าในเขตจังหวัดนราธิวาส มาเป็นแรงบัดาลใจในการสร้างสรรค์ลวดลาย โดยใช้ไหมวีนัสปักลวดลายและสีสันของกลีบกล้วยไม้ให้ไล่สีสวยงาม  ดูสวยสง่า  ปักด้วยมือลงบนผ้าหางอวน  ล้อมรอบด้วยลวดลายพื้นป่าสีเขียวชอุ่มด้านหลัง รูปทรงกระเป๋าทรงกลมขนาดใหญ่ มีสายสะพายแบบยาวที่มีความร่วมสมัย เพราะผ้าหางอวนมีคุณสมบัติที่แข็งแรง ทนทาน สะท้อนถึงงานปักซอยของไทยได้เป็นอย่างดี

ประเภทงานหัตถกรรม :
เครื่องทอ
ผู้สร้างสรรค์ :
ขนาด :
เส้นผ่าศูนย์กลาง 37 เซนติเมตร
วัสดุ :
ผ้าทอหางอวนสีเทา และไหมปักเบอร์ 25
อายุ/ปีที่ผลิต :
2564
รายละเอียดชิ้นงาน

เทคนิคที่ใช้ : การปักซอย  หรือการปักซอยแบบไทย
เป็นเทคนิคการปักด้วยมือโดยใช้เส้นด้ายดีเอ็มซี หรือเส้นไหมปักลงบนผืนผ้า โดยใช้การปักขึ้นลงถี่ ๆ ไปตามลวดลายภาพต้นแบบ โดยขึงผ้ากับสะดึง ผู้เริ่มต้นฝึกปักจะใช้เส้นด้าย ส่วนผู้มีฝีมือขั้นสูงจะใช้เส้นไหมเส้นเล็กไปจนถึงขนาดเล็กมากเท่าเส้นผม และใช้ลวดลายที่มีรายละเอียดมากขึ้น ลวดลายต้นแบบผ้าปัก มักเป็นภาพจากวรรณคดีไทย  หรือ ภาพจากธรรมชาติ เช่น ดอกไม้ ป่าธรรมชาติ สัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น ผลงานผ้าปักซอย เมื่อสำเร็จออกมาแล้วจะเป็นภาพที่งดงาม และมีชีวิตชีวาราวกับภาพเขียน หรือภาพถ่าย

กระบวนการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (โดยละเอียด) :

  1. การเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ : เตรียมอุปกรณ์สำหรับงานปักผลงาน ประกอบด้วย ผ้าอัดกาวผ้าหางอวน ไหมปัก เบอร์25 สะดึง เข็ม แบบลาย ซิป และ หูกระเป๋า
  2. ออกแบบลวดลาย : ออกแบบลวดลายให้สอดคล้องกับลักษณะชิ้นงาน โดยภาพลายปักฝีมือครูเจ๊ะนาตีป๊ะ มะหิและ ส่วนใหญ่เป็นภาพจากวรรณคดีไทย ภาพจากธรรมชาติ อาทิ สัตว์หรือพืชที่พบในท้องถิ่น จากนั้นจึงพิมพ์แบบลวดลายลงบนกระดาษ
  3. การเตรียมผ้าหางอวน : ผ้าหางอวนคือผ้าที่ทอจากเส้นใยที่ได้จากยอดต้นลานอ่อนชนิดลานพรุ มีความเหนียว เส้นใยมีความแข็งแรง ไม่ขึ้นรา มีความอ่อนตัว เมื่อนำมาทอแบบทอขัดจะได้ผ้าที่มีลักษณะเป็นตาโปร่ง น้ำหนักเบา ผิวลื่นมัน  นำผ้าหางอวนที่ตัดได้ขนาดที่เตรียมไว้ใส่สะดึง
  4. พิมพ์แบบลายปัก : เลือกลายปักที่ต้องการ จากนั้นพิมพ์เป็นภาพสำหรับเป็นต้นแบบในการปักลาย เนาลงบนผ้าหางอวน
  5. การปักลาย : คัดเลือกสีเส้นไหม จากเส้นไหมเบอร์ 25 ด้วยการเทียบสีไหมตามแบบที่กำหนด.ปักลายตามต้นแบบ โดยการใช้เทคนิคการปักซอย ซอยสั้น ซอยยาว พอประมาณ ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการปักผ้า เนื่องจากการก้าวสั้นเกิน หรือยาวเกินไปจะทำให้งานปักไล่ส่วน และไม่ปราณีต ทำให้ชิ้นงานออกมาไม่ละเอียด มีความแข็งกระด้าง ไม่สมจริงเหมือนต้นแบบ จากส่วนตรงกลางดอกกล้วยไม้ป่าและปักไล่ไปเรื่อย ๆ จนครบทั้งชิ้นงาน
  6. การประกอบชิ้นงาน : หลังจากนั้นตัดผ้าสำหรับตัวกระเป๋าให้เป็นทรงกลม แผ่นและแถวผ้าสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดยาวที่มีขนาดเท่ากับวงรอบของตัวทรงกระเป๋า จากนั้นเย็บตะเข็บด้วยจักรเย็บผ้าประกอบกันจนเป็นกระเป๋าทรงกลม และนำอะไหล่ต่าง ๆ ได้แก่ ห่วงกลม ตะขอเกี่ยวกระเป๋า สายโซ่ และซิป มาประกอบเข้าด้วยกันจนสมบูรณ์
ข้อมูลแหล่งที่มา