พวงกุญแจปักลายดอกไม้

กลุ่มงานศิลปหัตถกรรม ประเภทงานหัตถศิลป์ไทย

พวงกุญแจปักลายดอกไม้ เป็นการนำผ้าฝ้ายสีครามเข้ม ใช้ไหมวีนัสเบอร์ 25 ปักด้วยมือเป็นช่อดอกไม้ที่สีสัน สดใส สวยงาม ทั้งสองด้านของพวงกุญแจ ถือเป็นการนำการปักซอยไทย จากศูนย์การเรียนรู้
กลุ่มปักผ้าบ้านลาเวง ตำบลเชิงคีรี อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส มาประยุกต์ในชีวิตประจำวัน ขนาดพอดี นิยมใช้คล้องกุญแจบ้านหรือรถตามความเหมาะสม แฝงความประณีตและงดงามลงบนลายปัก

ประเภทงานหัตถกรรม :
เครื่องทอ
ผู้สร้างสรรค์ :
ขนาด :
4x6 เซนติเมตร
วัสดุ :
ผ้าฝ้าย และไหมปักเบอร์ 25
อายุ/ปีที่ผลิต :
2564
รายละเอียดชิ้นงาน

เทคนิคที่ใช้ : ปักลายลงบนผ้าด้วยมือ และนำไปตัดแพทเทิน ประกอบเย็บจักรเป็นพวงกุญแจ
กระบวนการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (โดยละเอียด) :

  1. การเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ : เตรียมอุปกรณ์สำหรับงานปักผลงาน ประกอบด้วย ผ้าฝ้ายอัดกาว ไหมปัก เบอร์25 สะดึง เข็ม แบบลาย ซิป และ หูกระเป๋า
  2. ออกแบบลวดลาย : ออกแบบลวดลายให้สอดคล้องกับลักษณะชิ้นงาน โดยภาพลายปักฝีมือครูเจ๊ะนาตีป๊ะ มะหิและ ส่วนใหญ่เป็นภาพจากวรรณคดีไทย ภาพจากธรรมชาติ อาทิ สัตว์หรือพืชที่พบในท้องถิ่น จากนั้นจึงพิมพ์แบบลวดลายลงบนกระดาษ
  3. การเตรียมผ้าฝ้ายอัดกาว : เตรียมผ้าฝ้ายสีน้ำเงินสำหรับทำพวงกุญแจโดยนำมาอัดกาวให้มีความแข็งแรงทนทาน และนำมาขึ้นสะดึงเพื่อเตรียมปักลายต่อไป
  4. พิมพ์แบบลายปัก : เลือกลายปักที่ต้องการ จากนั้นพิมพ์เป็นภาพสำหรับเป็นต้นแบบในการปักลาย เนาลงบนผ้าฝ้ายอัดกาว
  5. การปักลาย : คัดเลือกสีเส้นไหม จากเส้นไหมเบอร์ 25 ด้วยการเทียบสีไหมตามแบบที่กำหนด ปักลายตามต้นแบบ โดยการใช้เทคนิคการปักซอย ซอยสั้น ซอยยาว พอประมาณ ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการปักผ้า เนื่องจากการก้าวสั้นเกิน หรือยาวเกินไปจะทำให้งานปักไล่ส่วน และไม่ปราณีต ทำให้ชิ้นงานออกมาไม่ละเอียด มีความแข็งกระด้าง ไม่สมจริงเหมือนต้นแบบ จากส่วนตรงกลางดอกกุหลาบและปักไล่ไปเรื่อย ๆ จนครบทั้งชิ้นงาน
  6. การประกอบชิ้นงาน : หลังจากนั้นตัดผ้าสำหรับตัวกระเป๋าให้เป็นทรงระฆัง จากนั้นเย็บตะเข็บด้วยจักรเย็บผ้าประกอบกันจนเป็นพวงกุญแจหุ้มกุญแจ และนำอะไหล่ต่าง ๆ ได้แก่ เชือก พวงกุญแจ และตุ้มดอกไม้ มาประกอบเข้าด้วยกันจนสมบูรณ์
ข้อมูลแหล่งที่มา