ผ้ามัดหมี่ลายนาคเกี้ยวหาง

กลุ่มงานศิลปหัตถกรรม ประเภทงานหัตถศิลป์ไทย

ผ้ามัดหมี่ลายนาคเกี้ยวหาง ผ้ามัดหมี่ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยพัฒนาลวดลายมาจากจากลายโบราณที่นาคทั้งสองตัวลำตัวติดกัน มีหัวนาคด้านบนและล่าง โดยเห็นว่าเส้นที่เป็นลำตัวนาคติดกันนั้นทำให้ลายดูแข็งไม่พลิ้วไหว จึงแบ่งลำตัวเป็น 2 ท่อน แล้วม้วนส่วนที่เป็นหางนาคแยกกันลงมา จึงเรียกว่า  "ลายนาคเกี้ยวหาง

ประเภทงานหัตถกรรม :
เครื่องทอ
ผู้สร้างสรรค์ :
ขนาด :
200x105 ซม.
วัสดุ :
ผ้าฝ้าย *ย้อมสีธรรมชาติหรือเคมี โปรดระบุ
อายุ/ปีที่ผลิต :
2564
รายละเอียดชิ้นงาน

เทคนิคมัดหมี่ และเทคนิคขิด
-การทอผ้ามัดหมี่ เป็นศิลปะการทอชนิดหนึ่งที่มีการสืบทอดและนิยมใช้ในการสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้ามาอย่างยาวนาน  คำว่า “หมี่” ใช้เรียกแทนเส้นด้าย เส้นฝ้าย เส้นไหม เส้นใยจากพืช รวมถึงเส้นใยสังเคราะห์ ที่ใช้ในการทอผ้า ซึ่งผู้ทอจะนำไปผูกหรือมัดด้วยเชือกอย่างเชือกกล้วย หรือเชือกฟาง เพื่อสร้างสรรค์เป็นลวดลายหลากรูปแบบ ก่อนนำไปย้อมสีตามจังหวะลวดลายที่ออกแบบและกำหนดสีไว้ตามจินตนาการ รอยซึมของสีที่ซึมไปตามบริเวณของลวดลายที่ถูกมัดตามจังหวะช่วงลาย จึงถูกเรียกว่าลายมัดหมี่
- การขิด คือวิธีเก็บลายขิดบนผ้าผืนเรียบ ใช้ไม้เก็บขิด คัดเก็บขิดยกลาย โดยต้องนับจำนวนเส้นไหม แล้วใช้ไม้ลายขิดสายเป็นลายเก็บไว้ ในการทอเก็บลายจะแบ่งเป็นช่วง แต่ละช่วงเก็บลายไม่เหมือนกัน ส่วนที่อยู่ตรงปลายต่อกับผ้าเรียบ เป็นการเก็บขิดดอกเล็ก ส่วนต่อไปเป็นการเก็บขิดดอกใหญ่ เรียกว่า “ดอกลายผ้า” ใช้ไม้ในการเก็บลายต่างกัน

กระบวนการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (โดยละเอียด) :

  1. การเตรียมเส้นฝ้ายแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
  • การเตรียมฝ้ายเส้นพุ่ง คือ การเลือกลายแล้วทำการวัดความยาวของฟันหมีฟืม เช่น ถ้าใช้ขนาดของฟันหวี 42 นิ้ว ให้ใช้โฮงหมี่ขนาดน้อยกว่าฟันหวี 1เซนติเมตร เพื่อให้หัวหมี่มีขนาดสั้นกว่าความยาวของฟันหวี เพราะในขณะที่ทอผ้านั้น จะเกิดแรงตึงของเส้นพุ่ง ทำให้หน้ากว้างของฟันหวี 42 นิ้ว มีขนาดเท่ากับความยาวของหัวหมี่พอดี ส่งผลให้ผ้าเรียบเสมอกันทั้งผืน
  • การเตรียมฝ้าย (ฝ้ายเส้นยืน) คือ การค้นหูกหรือค้นเครือ เป็นกรรมวิธีนำเอาเส้นไหมที่เตรียมไว้สำหรับเป็นไหมเครือไปค้น (กรอ) ให้ได้ความยามตามจำนวนผืนของผู้ทอผ้าไหมตามที่ต้องการ โดยไหมหนึ่งเครือจะทำเป็นผ้าไหมได้ประมาณ 20 -30ผืน ( ผ้าไหม 1 ผืนยาวประมาณ 180 - 200 เซนติเมตร)
  1. การมัดหมี่ คือ การมัดเส้นไหมในส่วนของเส้นพุ่งให้เกิดลวดลายตามที่ออกแบบไว้
  2. การย้อมสี คือ การคั้นเอาน้ำจากพืชที่ให้สีนั้น ๆ หรือใช้สีเคมีตามสีที่ต้องการ นำมาต้มให้เดือด จากนั้นนำเส้นไหมชุบน้ำให้เปียก บิดพอหมาด กระตุกให้เส้นไหมเรียงเส้นกัน แล้วจึงแช่น้ำย้อมสีที่เตรียมไว้ ทิ้งไว้สักพัก แล้วนำไปผึ่งให้แห้งสนิท
  3. การแก้หมี่ คือ การแก้เชือกฟางที่มัดหมี่แต่ละลำออกให้หมดหลังจากการย้อมสี
  4. การทอผ้า คือ การนำเส้นฝ้ายที่มัดหมี่แล้วมาทำการทอ โดยแบ่งเส้นฝ้ายออกเป็น 2 ชุด เส้นฝ้ายยืน จะถูกขึงไปตามความยาวผ้าเป็นส่วนที่อยู่ติดกับกี่ทอ หรือแกนม้วนด้านยืน ส่วนเส้นฝ้ายพุ่งจะถูกกรอเข้ากระสวย เพื่อให้กระสวยเป็นตัวนำเส้นด้ายพุ่งสอดขัดเส้นด้ายยืนเป็นมุมฉากทอสลับกันไปตลอดความยาวของผืนผ้า ทั้งนี้การสอดด้ายพุ่งแต่ละเส้นต้องสอดให้สุดถึงริมผ้าแต่ละ
    ด้าน แล้วจึงวกกลับมา จะทำให้เกิดริมผ้าเป็นเส้นตรงทั้งสองด้านส่วนลวดลายชองผ้านั้นขึ้นอยู่กับการวางลายผ้าตามแบบของผู้ทอที่ได้ทำการมัดหมี่ไว้ ถือเป็นอันเสร็จสมบูรณ์
ข้อมูลแหล่งที่มา