ผ้าหมี่ขิดลายกาบโบราณ เป็นการทอ 2 เทคนิคผสมกันคือ มัดหมี่และขิดที่มาจากการเริ่มทำผ้าหมี่-ขิดที่บ้านนาข่าจังหวัดอุดรธานี เคยส่งธิดาผ้าหมี่-ขิดเข้าประกวดในงานประจำปีทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุดรธานี ได้รางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่งของจังหวัดฯ ต่อมาได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรไปฝึกอบรมช่างทอผ้าหลายกลุ่มในหลายอำเภอที่จังหวัดหนองบัวลำภู และได้นำเทคนิคการทอผ้า “หมี่ขิด” ไปทำการอบรมฝึกสอนจนเป็นที่นิยมและเผยแพร่ต่อ ๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน ผ้าผืนนี้มัดเป็นลวดลายกาบโบราณผสมนาคน้อย จึงเรียกลายผ้าผืนนี้ว่า "ผ้าหมี่ขิดลายกาบโบราณ”
การทำผ้าให้มีด้านลอยขึ้นมาด้านเดียว
-การทอผ้ามัดหมี่ เป็นศิลปะการทอชนิดหนึ่งที่มีการสืบทอดและนิยมใช้ในการสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้ามาอย่างยาวนาน คำว่า “หมี่” ใช้เรียกแทนเส้นด้าย เส้นฝ้าย เส้นไหม เส้นใยจากพืช รวมถึงเส้นใยสังเคราะห์ ที่ใช้ในการทอผ้า ซึ่งผู้ทอจะนำไปผูกหรือมัดด้วยเชือกอย่างเชือกกล้วย หรือเชือกฟาง เพื่อสร้างสรรค์เป็นลวดลายหลากรูปแบบ ก่อนนำไปย้อมสีตามจังหวะลวดลายที่ออกแบบและกำหนดสีไว้ตามจินตนาการ รอยซึมของสีที่สิ่งไปตามบริเวณของลวดลายที่ถูกมัดตามจังหวะช่วงลาย จึงถูกเรียกว่าลายมัดหมี่
- การขิด คือวิธีเก็บลายขิดบนผ้าผืนเรียบ ใช้ไม้เก็บขิด คัดเก็บขิดยกลาย โดยต้องนับจำนวนเส้นไหม แล้วใช้ไม้ลายขิดสายเป็นลายเก็บไว้ ในการทอเก็บลายจะแบ่งเป็นช่วง แต่ละช่วงเก็บลายไม่เหมือนกัน ส่วนที่อยู่ตรงปลายต่อกับผ้าเรียบ เป็นการเก็บขิดดอกเล็ก ส่วนต่อไปเป็นการเก็บขิดดอกใหญ่ เรียกว่า “ดอกลายผ้า” ใช้ไม้ในการเก็บลายต่างกัน
กระบวนการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (โดยละเอียด) :