ผ้าซิ่นไหมลุนตยาปักลายล้านนาประยุกต์

กลุ่มงานศิลปหัตถกรรม ประเภทงานหัตถศิลป์ไทย

ผ้าซิ่นไหมลุนตยาปักลายล้านนาประยุกต์ เป็นการนำผ้าลุนตยาซึ่งเป็นผ้านุ่งที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในพม่ามาสร้างสรรค์ด้วยการ ปักลวดลายระหว่างช่องว่างด้วยงานปักลูกโซ่ลายล้านนาประยุกต์ เลือกใช้เส้นด้ายสีพาสเทลและออกแบบลายให้มีเส้นขนาดเล็กเพื่อเสริมให้ลวดลายบนผืนผ้าลุนตยาโดดเด่น

ประเภทงานหัตถกรรม :
เครื่องทอ
ผู้สร้างสรรค์ :
ขนาด :
107x80 ซม.
วัสดุ :
เส้นด้ายสำหรับปัก
อายุ/ปีที่ผลิต :
2564
รายละเอียดชิ้นงาน

การปักลายด้วยมือด้วยเทคนิคการปักแบบลูกโซ่

กระบวนการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (โดยละเอียด) :
ขั้นตอนการออกแบบชิ้นงาน :

  1. เตรียมผ้าสำหรับนำมาปักลาย โดยชิ้นงานนี้เป็นผ้าซิ่นไหมลุนตยาสีชมพู
  2. ออกแบบลวดลายที่ผสมผสานและกลมกลืนไปกับผ้าที่เตรียมไว้ โดยวาดลายด้วยดินสอสำหรับเขียนผ้าหรือชอล์คเขียนผ้า
  3. คัดเลือกและเตรียมเส้นฝ้ายหรือเส้นไหมสำหรับปักตามสีที่ออกแบบไว้ เพื่อให้ลายปักมีมิติของความกลมกลืนและความขัดแย้งภายในชิ้นงานอย่างลงตัว ซึ่งจะช่วยขับให้ลวดลายและสีของผืนผ้างดงามมากยิ่งขึ้น
    ขั้นตอนการปักผ้า :  ความโดดเด่นของผ้าปักกองหลวงคือการปักแบบลูกโซ่ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในภูมิปัญญาที่ต้องใช้ความละเอียดและประณีตในการทำเพื่อให้เส้นด้ายปักไล่ไปตามวดลายที่วาดและกำหนดไว้ในลักษณะด้ายคู่  โดยมีขั้นตอนดังนี้
  4. เตรียมเข็ม
  5. ใช้เข็มและด้ายปักแบบปักลูกโซ่ไปตามร่างลายที่เตรียมไว้ โดยก่อนเย็บผ้าให้ขมวดปมด้ายด้านยาว เพื่อยึดด้ายให้ติดกับผ้า โดยการจับปลายเส้นด้ายด้านที่ยาวกว่าใช้ส่วนปลายด้ายพันรอบนิ้วชี้  1  รอบ ม้วนให้ปลายเส้นด้ายสอดเข้าให้รอบห่วงที่นิ้วแล้วปลดด้ายออกจากนิ้ว แล้วรูดปมห่วงให้มาสุดที่ปลายเส้นด้าย
  6. นำเข็มที่ขมวดปมแล้วแทงขึ้นตวัดด้ายให้เป็นวงแล้วแทงลงที่ตำแหน่งเดิม สอดเข็มใต้ผ้าแล้วแทงเข็มขึ้น ดึงด้ายให้ตึง จากนั้นตวัดด้ายให้เป็นวงแล้วแทงลงที่เป็นตำแหน่งเดิม สอดเข็มใต้ผ้าแล้วแทงเข็มขึ้น จากนั้นดึงด้ายให้ตึง ทำแบบเดียวกันต่อไปเรื่อย ๆ จนครบช่องลาย และได้แบบลวดลายในตำแหน่งที่กำหนดไว้บนผืนผ้าตามต้องการ
ข้อมูลแหล่งที่มา