ผ้าซิ่นไหมคำ

กลุ่มงานศิลปหัตถกรรม ประเภทงานหัตถศิลป์ไทย

  • ผ้าซิ่นไหมคำชิ้นนี้ มีลักษณะ หัวซิ่นเรียกว่า หัวจกดาวเป็นการทอวิธีการจกด้วยขนเม่น สลับการทอแบบขิด วัสดุเส้นยืนและเส้นพุ่งที่เป็นไหมบ้านและดิ้นโลหะแบบฝรั่ง ลวดลายที่จกดาววัสดุเป็นไหม ตัวซิ่นเป็นลวดลายดอกพร้าวทอยกวัสดุเป็นไหมทองโลหะฝรั่งเศส 2 สี ฝั้นรวมกันเป็นเกลียวอย่างสีอ่อน สีทองเข้มลวด ลายเดียวกันสลับกับการทอเทคนิคไหมมัดหมี่สีเขียว เส้นพุ่ง, เส้นยืนสีชมพูอ่อน, สีชมพูเข้ม ตีนซิ่น เป็นลวดลายแบบกรวยเชิงชั้นเดียวอย่างโบราณที่นิยมสมัยรัชกาลที่ 5 มีลายหน้ากระดานและต่อตัวล่างลายกรวยเชิง วัสดุทอยกไหมโลหะฝรั่ง เส้นพุ่งเส้นยืนเป็นไหมบ้านสีชมพูเข้ม ตามรูปแบบรูปถ่ายหม่อมเชียงคำ ชุมพล ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ จังหวัดอุบลราชธานี
  • ผ้าซิ่นไหมคำ ชิ้นนี้ ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ หัวซิ่น ตัวซิ่น และตีนซิ่น ลวดลายส่วนหัวซิ่นเป็นลวดลายจกดาว ส่วนตัวซิ้นเป็นลายดอกพร้าว และส่วนตีนซิ่นเรียกว่าตีนตวย
ประเภทงานหัตถกรรม :
เครื่องทอ
ผู้สร้างสรรค์ :
ขนาด :
ความยาว 198 เซนติเมตร ความกว้าง 110 เซนติเมตร
วัสดุ :
เส้นไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านสาวมือ เส้นไหมทองฝรั่งเศส
อายุ/ปีที่ผลิต :
2560
รายละเอียดชิ้นงาน

เทคนิคที่ใช้ : ใช้เทคนิคการทอยก สลับกับมัดหมี่ ส่วนหัวซิ่นใช้เทคนิคจกสลับกับการขิด

ข้อมูลแหล่งที่มา