ชุดเชี่ยนเมี่ยงสานด้วยไม้ไผ่

กลุ่มงานศิลปหัตถกรรม

เชี่ยนเมี่ยง ประกอบ ฐานรอง 3 ชิ้น , ลูกแอปเปิ้ลสำหรับใส่เครื่องเมี่ยง 7 ลูก และ ถ้วยเครื่องเคียง 1 ชิ้น
• ฐานรองชิ้นที่ 1 ฐานใหญ่ขึ้นก้นฐานด้วยลายเฉลว ขัดด้วยไม้ขัด 3 ขาใส่หลักขา 6 มุม ปิดทับขาด้วยลายจูงนาง รัดรอบฐานตะกร้าด้วยลายสันปลาช่อน ผูกขอบ 5 หวาย แล้วขึ้นตัวตะกร้าด้วยลายเชี่ยน ซึ่งเป็นลายโบราณ จับขอบผูกหวายปากตะกร้าด้วยจูงสันปลาช่อน
• ฐานรอง ชิ้นที่ 2 ขึ้นก้นฐานด้วยลายเฉลวงมีขนาดเล็กกว่าส่วนฐาน ขัดลายด้วยไม้ขัด 3 ขาเพิ่มความแข็งแรง แต่ไม่ต้องใส่หลักขาเหมือนส่วนฐาน ขึ้นลายเชี่ยน
• ฐานรอง ชิ้นที่ 3 เป็นส่วนที่เป็นฐานรองลูกแอปเปิ้ล ขนาดต้องปิดปากตะกร้าใบใหญ่ตัวฐานล่างพอดี การขึ้นรูปงานเหมือน 2 ชิ้นแรก ต่างกันที่ส่วนตัวลายของชิ้นงานเป็นลายพิกุลร่วง
• ลูกแอปเปิ้ล ส่วนตัวลูกขึ้นรูปงานด้วยลายเวียนจากส่วนฐาน รัดด้วยหวายขึ้นรูปก้นลูกแอปเปิ้ล ขึ้นรูปลูกด้วยลายไพลด้านล่าง เข้าโครงลูกด้วยไม้ไผ่ลายตั้ง สานด้วยลายขัดธรรมดาจบขอบลูกแอปเปิ้ลด้วยลายไพล ด้านในลูกแอปเปิ้ล สานด้วยลายสามธรรมดา จับขอบใส่ลิ้นให้ปิดรับกับส่วนฝาได้
• ฝาแอปเปิ้ล: ใช้ลายขัดขึ้นรูปฝาปิดแอปเปิ้ลด้วยลายไพลไล่ขึ้นไปสลับด้วยลายขัดธรรมดา แล้วจบด้วยลายไพล เรียงไม้ไผ่เป็นตัวจบงาน เพื่อรองรับเส้นหวายเป็นตัวจับเปิดลูกแอปเปิ้ล
• ถ้วยเครื่องเคียง ขึ้นรูปงานด้วยลายเวียนจากส่วนฐาน ขึ้นรูปถ้วยด้วยลายไพล สานด้วยลายขัดธรรมดา

ประเภทงานหัตถกรรม :
เครื่องจักสาน
ผู้สร้างสรรค์ :
ขนาด :
ชุดเชี่ยนเมี่ยง เส้นผ่าศูนย์กลาง 35 ซ.ม. สูง 22 ซ.ม. ลูกแอปเปิ้ล เส้นผ่าศูนย์กลาง 10 ซ.ม. สูง 2 ขนาดคือ 12 ซ.ม. และ 15 ซ.ม. ถ้วยเครื่องเคียง เส้นผ่าศูนย์กลาง 4 ซ.ม.,
วัสดุ :
ม้ไผ่นวล และหวายหอม
อายุ/ปีที่ผลิต :
2552
รายละเอียดชิ้นงาน

เทคนิคที่ใช้:  การจักสานไผ่สานละเอียด  การย้อมสีไผ่
วัตถุดิบ

  • ไม้ไผ่ : ใช้ไม้ไผ่นวล ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด มีคุณภาพดีเนื่องจากความชุ่มชื้นของพื้นที่ ซึ่งโดยธรรมชาติจะขึ้นอยู่ตามเชิงเขาใกล้น้ำตก ในกรณีที่มีปลูกต้องมีระบบการจัดการที่ดี อายุที่เหมาะสมในการใช้งาน 2-3 ปี โดยเลือกไม้ไผ่นวล ปล้องยาว ผิวละเอียดเนียน เนื้อเหนียวและอ่อนสามารถจักเป็นเส้นตอกได้ง่าย ทั้งนี้กระบวนการขั้นตอนการเตรียมเส้นตอกที่เป็นภูมิปัญญาที่ส่งต่อมาจากอดีต  โดยเลือกใช้ไผ่นวลที่มีอายุไผ่เหมาะแก่การจักสานไผ่ละเอียด และใช้เพียงผิวและเนื้อไผ่ที่ลึกเพียง 1.5 มิลลิเมตร เพื่อรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานสม่ำเสมอ
  • หวาย : หวายหอม โดยธรรมชาติเนื้อละเอียด ผิวมันเนียนใช้สำหรับทำหูกระเป๋า โครงตะกร้า เป็นต้น

กรรมวิธีสร้างสรรค์ชุดเชี่ยนเมี่ยงสานด้วยไม้ไผ่ ประกอบด้วย ฐานรอง 3 ชิ้น งานจักสานไม้ไผ้ทรงลูกแอปเปิ้ลสำหรับใส่เครื่องเมี่ยง  7 ลูก และ ถ้วยเครื่องเคียง 1 ชิ้น
• ฐานรองชิ้นที่ 1 ฐานใหญ่ขึ้นก้นฐานด้วยลายเฉลว ขัดด้วยไม้ขัด 3 ขาใส่หลักขา  6 มุม ปิดทับขาด้วยลายจูงนาง รัดรอบฐานตะกร้าด้วยลายสันปลาช่อน ผูกขอบ   5 หวาย แล้วขึ้นตัวตะกร้าด้วยลายเชี่ยน ซึ่งเป็นลายโบราณ จับขอบผูกหวายปากตะกร้าด้วยจูงสันปลาช่อน
• ฐานรอง ชิ้นที่ 2 ขึ้นก้นฐานด้วยลายเฉลวงมีขนาดเล็กกว่าส่วนฐาน ขัดลายด้วยไม้ขัด 3 ขาเพิ่มความแข็งแรง แต่ไม่ต้องใส่หลักขาเหมือนส่วนฐาน ขึ้นลายเชี่ยน
• ฐานรอง ชิ้นที่ 3 เป็นส่วนที่เป็นฐานรองลูกแอปเปิ้ล ขนาดต้องปิดปากตะกร้าใบใหญ่ตัวฐานล่างพอดี การขึ้นรูปงานเหมือน 2 ชิ้นแรก ต่างกันที่ส่วนตัวลายของชิ้นงานเป็นลายพิกุลร่วง
• ลูกแอปเปิ้ล  ส่วนตัวลูกขึ้นรูปงานด้วยลายเวียนจากส่วนฐาน รัดด้วยหวายขึ้นรูปก้นลูกแอปเปิ้ล  ขึ้นรูปลูกด้วยลายไพลด้านล่าง เข้าโครงลูกด้วยไม้ไผ่ลายตั้ง สานด้วยลายขัดธรรมดาจบขอบลูกแอปเปิ้ลด้วยลายไพล ด้านในลูกแอปเปิ้ล สานด้วยลายสามธรรมดา จับขอบใส่ลิ้นให้ปิดรับกับส่วนฝาได้
• ฝาแอปเปิ้ล ใช้ลายขัดขึ้นรูปฝาปิดแอปเปิ้ลด้วยลายไพลไล่ขึ้นไปสลับด้วยลายขัดธรรมดา แล้วจบด้วยลายไพล เรียงไม้ไผ่เป็นตัวจบงาน เพื่อรองรับเส้นหวายเป็นตัวจับเปิดลูกแอปเปิ้ล
• ถ้วยเครื่องเคียง ขึ้นรูปงานด้วยลายเวียนจากส่วนฐาน ขึ้นรูปถ้วยด้วยลายไพล   สานด้วยลายขัดธรรมดา

ข้อมูลแหล่งที่มา