ผ้าซิ่นตีนจกไหมทอง

กลุ่มงานศิลปหัตถกรรม ประเภทงานหัตถศิลป์ไทย

หัวซิ่น : ทอพื้นลายขัดธรรมดา สีขาวจากเส้นไหม สีแดงจากครั่ง
ตัวซิ่น
    • ลายหลัก คือ ลายดอกมะลิ จกไหมทอง
    • ลายประกอบ คือ ลายเครือวัลย์ใหญ่และเครือวัลย์เล็ก จกไหมทอง เส้นพุ่งทับ ไหมสีดำ
ตีนซิ่น
    • ลายหลัก คือ ลายสิบสองหน่วยตัด
    • ลายประกอบบน คือ ลายนกคุ้ม, ลายนกคาบ, ลายดอกหมี่, ลายฟันปลา, ลายเครือขอ
    • ลายประกอบล่าง คือ ลายนกคุ้ม, ลายนกคาบ, ลายดอกหมี่, ลายฟันปลา, ลายเครือขอ, ลายสร้อยสาชายตีน แถบสีเหลือง

ประเภทงานหัตถกรรม :
เครื่องทอ
กลุ่มวัฒนธรรม :
ไทพวน บ้านหาดเสี้ยว
ผู้สร้างสรรค์ :
ขนาด :
กว้าง 95.25 ซ.ม. ยาว 106.6 ซ.ม.
วัสดุ :
เส้นไหมย้อมสีธรรมชาติ, ไหมทอง
อายุ/ปีที่ผลิต :
2542
รายละเอียดชิ้นงาน

เทคนิคที่ใช้
การทอจกด้วยขนเม่น
ขั้นตอนการสร้างสรรค์
    1. เตรียมเส้นไหมและเส้นฝ้ายที่ผ่านการเปียฝ้ายสำหรับนำมาย้อมสีธรรมชาติเพื่อนำมาทำเป็นเส้นยืนและเส้นพุ่ง
    2. ให้นำกลุ่มเส้นไหมหรือเส้นฝ้ายสำหรับทำเส้นยืนมาใส่ใน กวัก หรือ กวักฝ้าย แล้ว ค้น คือนำด้ายมาเรียงยืนตามความกว้างยาวที่ต้องการ เพื่อต่อด้ายเครือหูกให้ติดกับด้ายฟืมซึ่งมีลักษณะเป็นฟันซี่ๆ คล้ายหวี สำหรับสอดด้ายและไหม ใช้กระทบด้ายและไหมประสานกัน เรียกว่า สืบหูก  จากนั้นนำไปเข้า กี่ หรือเครื่องสำหรับทอ พร้อมที่จะทอผ้าในขั้นตอนถัดไป
    3. จากนั้นนำด้ายมาพันไม้ก้อหลอดหรือกรอหลอด เรียกว่า กรอหลอดด้าย  อุปกรณ์กรอก็คือ หลา นำไปใส่ในกระสวยพุ่งขวางไปมาตามฟืม โดยใช้เทคนิคการทอขัดธรรมดาบริเวณหัวซิ่นและจกลวดลายด้วยขนเม่นซึ่งเป็นการทอด้วยการเพิ่มเส้นพุ่งพิเศษในระหว่างกระบวนการทอบริเวณตีนซิ่นตามแบบฉบับดั้งเดิมของผ้าซิ่นตีนจกไทพวนบ้านหาดเสี้ยว

ข้อมูลแหล่งที่มา