โพนเบญจรงค์ – ลายประจำยาม

กลุ่มงานศิลปหัตถกรรม ประเภทงานหัตถศิลป์ไทย

ลวดลายที่ปรากฎในผลงาน  “โพนเบญจรงค์” ชิ้นนี้ มีชื่อว่า “ลายประจำยาม” เป็นลวดลายโบราณที่นำมาใช้  เลียนแบบ  “โทน” โบราณ  เป็นลายซึ่งนิยมใช้เขียนลงบนเครื่องถมและเครื่องกระเบื้องเคลือบ ที่นิยมในสมัยกรุงศรีอยุธยา

ประเภทงานหัตถกรรม :
เครื่องดิน
ผู้สร้างสรรค์ :
ขนาด :
ความกว้างฐาน 21 เซนติเมตร ความสูง 40 เซนติเมตร
วัสดุ :
กระเบื้องเคลือบขาว, หนังแพะ, สีเขียนบนกระเบื้องเคลือบ
อายุ/ปีที่ผลิต :
2562
รายละเอียดชิ้นงาน

เทคนิคที่ใช้ :  “โพนเบญจรงค์ – ลายประจำยาม”  ชิ้นนี้  ตัวโทนใช้เทคนิคการเขียนลายเบญจรงค์ ด้วยมือ บนเครื่องกระเบื้องเคลือบ  เผาไฟอุณหภูมิสูง 750 องศาเซลเซียส ใช้เทคนิคเลียนแบบสีที่เขียนบนพื้นสีเหลืองจำปาแบบโบราณ และเขียนลายประจำยามด้วยการเขียนภู่กันด้วยการเขียนมือทั้งหมด เทคนิคที่สำคัญคือการขึงด้วยหนังแพะ

ข้อมูลแหล่งที่มา