ชามฝา

กลุ่มงานศิลปหัตถกรรม ประเภทงานหัตถศิลป์ไทย

“ชามฝา” มีลักษณะเป็นชามที่มีฝาปิด ใช้สำหรับบรรจุอาหาร และใช้ฝาสำหรับเก็บความร้อนและกันฝุ่นปนเปื้อนในอาหาร พื้นสีหลักเป็นสีขาวนวลจากเนื้อเซรามิกพอร์สเลน ลวดลายประดับบริเวณชามและฝา คือ “ลายเทพนม” สลับกับ “ลายครุฑ” ประดับด้วย “ลายก้านขด” สีเขียวและสีน้ำเงิน คาดด้วยลายลูกคั่นสองชั้น คือ “ลายกระจังตาอ้อย” บนพื้นน้ำเงิน และ “ลายใบเทศ” บนพื้นเขียว

ประเภทงานหัตถกรรม :
เครื่องดิน
ผู้สร้างสรรค์ :
ขนาด :
กว้าง 20 ซ.ม. สูง 16 ซ.ม.
วัสดุ :
ดินพอร์สเลน, น้ำทอง, สีฝุ่นสำหรับสีบนเคลือบ
อายุ/ปีที่ผลิต :
2553
รายละเอียดชิ้นงาน

เทคนิคที่ใช้: ใช้การเขียนสีบนเคลือบ

ขั้นตอนการสร้างสรรค์
    1. การขึ้นรูปทรง : นำดินพอร์สเลนมาชึ้นรูปชามฝา ซึ่งเป็นเครื่องขาวประเภทเนื้อพอร์ซเลน คือภาชนะสีขาวที่เกิดจากการผสมของดินขาว ดินดำ หินฟันม้า และหินทรายแก้ว โดยเริ่มต้นการเผาดิบด้วยอุณหภูมิประมาณ 780 องศาเซลเซียส จากนั้นจึงชุบน้ำเคลือบและเผาด้วยอุณหภูมิประมาณ 1,250-1,285 องศาเซสเซียส จัดเป็นพอร์สเลนชนิดไฟต่ำ
    2. การเขียนลาย : หลังได้ที่ได้ภาชนะเครื่องขาวแล้ว นำมาเริ่มต้นการแบ่งสัดส่วนลายโดยใช้สีทองมาวนขอบภาชนะบนแป้นหมุน เรียกว่า “การวนทอง” แล้วร่างลวดลายด้วยปากกาลงเส้นบาง ๆ ขั้นแรก สำหรับผู้ที่ยังไม่ชำนาญในการเขียนลาย โดยเป็นการผูกลวดลายช่องกระจกกลีบบัวแบบจีน แล้วจึงลงลวดลายสีบนเคลือบด้วยพู่กันปลายแหลมทับลงไปบนช่องว่างตามลวดลายที่ร่างไว้
    3. การเผา : หลังจากลงสีและลวดลายเรียบร้อย ให้นำเข้าเตาเผาไฟฟ้าอีกครั้งหนึ่งด้วยอุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส เพื่อทำให้สีติดทนบนเครื่องเบญจรงค์ เมื่อเสร็จสิ้นการเผาแล้วให้ทิ้งไว้ในเตาเผาจนกว่าอุณหภูมิจะเย็นลง จึงสามารถนำเครื่องเบญจรงค์ออกมาจากเตาแล้วตั้งทิ้งไว้ภายนอกจนกว่าอุณหภูมิจะเป็นปกติ

ข้อมูลแหล่งที่มา