ผลงานตุ๊กตาปั้นจิ๋วชุดตลาดน้ำ เป็นผลงานที่สื่อถึงชีวิตความเป็นอยู่ของคนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำลำคลอง ประกอบด้วยเรือนแพจำลอง 2 แพ และเรือสำปั้นเล็กอีก 13 ลำ แต่ละลำจำลองเป็นเรือขายสินค้าต่าง ที่ชาวบ้านพายเรือมาขายสินค้าหรือแลกเปลี่ยนสินค้ากัน แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนไทยในอดีตที่มีแม่น้ำเป็นเส้นทางการคมนาคมหลัก และมีวิถีการดำเนินชีวิตของชาวบ้านที่ปลูกเรือนริมแม่น้ำ ซึ่งมีผูกพันกับสายน้ำมาอย่างชาวนาน
เทคนิคที่ใช้ : การปั้นขึ้นรูปด้วยมือแบบอิสระ
วัสดุ / อปกรณ์
ขั้นตอนการเตรียมดิน :
1. การกรองดิน นำดินจากท้องนามาใส่กะละมัง แช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน หลังจากนั้นใช้มือขยำดินจนกลายเป็นน้ำโคลนและใช้ผ้าขาวบางกรองเอากรวดที่ผสมอยู่ในดินออกให้หมดนำเนื้อดินที่ได้ไปผึ่งแดดประมาณ 7 – 10 วัน ให้เนื้อดินหมาดการเก็บดิน เมื่อดินที่ผึ่งแดดเอาไว้เริ่มหมาดแล้ว ให้เอาดินมาเก็บใส่ถุงพลาสติกให้มิดชิด เพื่อไม่ให้ดินแห้ง แข็งตัว
2. การขึ้นรูป ก่อนการปั้นขึ้นรูปต้องนำดินที่เก็บใส่ถุงพลาสติกไว้ออกมานวด ถ้าดินเริ่มแข็งให้นำไปแช่น้ำแล้วนวดเพื่อไล่ฟองอากาศทำให้ดินมีความเหนียว และแน่นขึ้น เมื่อนำไปเผาแล้วจะไม่แตกหักง่าย
ขั้นตอนการปั้น : การปั้นเครื่องปั้นจิ๋วจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
ขั้นตอนการเผา : นำตุ๊กตาที่ปั้นเสร็จแล้วใส่ลงในหม้อดินประมาณครึ่งหม้อ ตั้งไฟที่เตรียมไว้สุมไฟเพื่อไล่น้ำ เมื่อดินเริ่มแห้งแล้วให้ยกหม้อตั้งบนเตา จากนั้นสุมไฟให้ท่วมทั้งหม้อ สุมไปเรื่อย ๆ จนถ่านมอดกลายเป็นขี้เถ้า ใช้เวลาตั้งแต่เริ่มรุมเตาจน แช่เตาประมาณ 10 ชั่วโมง แล้วนำหม้อดินเผาออกจากเตา ปล่อยไว้ให้คลายความร้อนจนเย็น สามารถหยิบออกมาได้เพื่อรอลงสีต่อไป
ขั้นตอนการลงสีและประกอบชิ้นงาน : นำชิ้นงานแต่ละชิ้นที่แห้งและเย็นแล้วมาลงสีตามต้องการ แล้วประกอบชิ้นงานด้วยกาวลาเท็กซ์เพื่อความแข็งแรงและสวยงาม หากเป็นชิ้นงานที่เป็นชุดหรือเรื่องราว อาจมีการลงสีและทำส่วนประกอบต่างๆ เพื่อเติมเพื่อความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น