สร้อยคอสัตตบงกช

กลุ่มงานศิลปหัตถกรรม ประเภทงานหัตถศิลป์ไทย

“สร้อยคอดอกบัวสัตตบงกช” เป็นเครื่องประดับโบราณที่มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ประกอบด้วยตัวสร้อย ถักลายกลม และดอกบัวสัตตบงกช ดอกตูม มาร้อยไล่เรียงขนาดจากใหญ่ไปเล็ก จำนวน 9 ดอก โดยแต่ละดอกมีความปราณีตละเอียด ซึ่งทั้งสร้อยคอและดอกบัวเป็นงานเครื่องประดับเงินชุบสีทอง

ประเภทงานหัตถกรรม :
เครื่องโลหะ
กลุ่มวัฒนธรรม :
เครื่องทองสกุลช่างอยุธยา
ผู้สร้างสรรค์ :
ขนาด :
ยาว 20 นิ้ว
วัสดุ :
โลหะเงิน
อายุ/ปีที่ผลิต :
2560
รายละเอียดชิ้นงาน

เทคนิคที่ใช้
    • สร้อยคอ : ใช้วิธีการถักลายกลม 6 เสา คั่นผ่าหวาย และลวดเกลียว
    • ดอกบัว : ฐานดอกใช้วิธีการดัด การกรีดลาย ส่วนดอกใช้วิธีการตัดลวดเกลียว ลวดสปริง และเป่าไข่ปลา
ขั้นตอนการสร้างสรรค์
    1. ร่างออกแบบลวดลายเครื่องประดับตามที่ต้องการ
    2. เตรียมเม็ดโลหะเงินแท้เพื่อหลอมในเบ้าหลอมด้วยความร้อนสูง
    3. นำเงินที่ได้จากการหลอมมารีดให้เป็นแผ่นเพื่อดึงเส้นเงินตามความยาวที่ต้องการ
    4. จากนั้นนำเส้นเงินมาดัดเป็นเกลียว เป่าไข่ปลา และฉลุลายตามที่ต้องการ แล้วจึงนำไปเชื่อมประกอบชิ้นส่วนต่างๆ ให้ได้เป็นรูปทรงดอกบัวสัตตบงกช
    5. หลังจากเสร็จสิ้นการเชื่อมประกอบแล้ว ให้นำไปขัดแต่งเพื่อลบเหลี่ยมคมและนำไปชุบทองให้สวยงาม

ข้อมูลแหล่งที่มา