สร้อยคอทับทรวงโบราณ

กลุ่มงานศิลปหัตถกรรม ประเภทงานหัตถศิลป์ไทย

•  สร้อยคอ : ตัวสายสร้อยเป็นสร้อยคอแบบสี่เสา ซึ่งมีเหลี่ยมขนาดเล็ก ร้อยลูกปะคำ คั่นด้วยลวดผ่าหวาย ใช้วิธีการชุบทองและลงสียาเย็น
 •  ทับทรวง : งานสลักดุนชุบทอง ลายใบเทศ ประดับอัญมณีทับทิมและไวท์แซฟไฟร์

ประเภทงานหัตถกรรม :
เครื่องโลหะ
กลุ่มวัฒนธรรม :
เครื่องทองสกุลช่างอยุธยา
ผู้สร้างสรรค์ :
ขนาด :
สร้อยคอ: ขนาด ยาว 19 นิ้ว หนัก 42.72 กรัม, ทับทรวง: ขนาด กว้าง 9 ซม.,สูง 8 ซม. หนัก 58.84 กรัม
วัสดุ :
โลหะเงิน ชุบทอง และอัญมณี
อายุ/ปีที่ผลิต :
2560
รายละเอียดชิ้นงาน

เทคนิคที่ใช้
    • สร้อยคอ : การถักแบบ 4 เสา
    • ทับทรวง : การสลัก ดุน ยกยอด 8 ชั้น
ขั้นตอนการสร้างสรรค์
    1. ร่างออกแบบลวดลายเทับทรวง 8 มุม ตามที่ต้องการ
    2. เตรียมเม็ดโลหะเงินแท้เพื่อหลอมในเบ้าหลอมด้วยความร้อนสูง
    3. นำเงินที่ได้จากการหลอมมารีดให้เป็นแผ่นเพื่อสลักดุนลายตามแบบที่ร่างไว้ โดยสลักดุนพลิกกลับไปมาถึง 3-4 รอบ เพื่อให้ได้ลวดลายที่คมชัดและอ่อนช้อย
    4. จากนั้นนำแผ่นเงินมาฉลุลายแล้วนำไปเชื่อมประกอบชิ้นส่วนต่างๆ
    5. หลังจากเสร็จสิ้นการเชื่อมประกอบแล้ว ให้นำไปขัดแต่งเพื่อลบเหลี่ยมคมและนำไปชุบทองให้สวยงาม
    6. นำชิ้นงานที่ผ่านการชุบทองแล้วมาประดับเข้ากับอัญมณี และตกแต่งลงยาสีเย็นตามแบบที่ร่างไว้

ข้อมูลแหล่งที่มา