ลูกข่างโว้

กลุ่มงานศิลปหัตถกรรม ประเภทงานหัตถศิลป์ไทย

“ลูกข่างโว้” หรือในภาษาล้านนาเรียกว่า “บะข่างโว่” เป็นของเล่นประเภทหมุนที่ได้จากนำปล้องไม้ไผ่มาเจาะรูที่มีลักษณะทแยงเข้าไปเป็นลิ่ม และยาวขนานไปกับปล้องไผ่ นำมาตกแต่งด้วยสีอะคริลิกเป็นลายธงชาติไทย

ประเภทงานหัตถกรรม :
เครื่องอื่นๆ
กลุ่มวัฒนธรรม :
ภาคเหนือ
ผู้สร้างสรรค์ :
ขนาด :
กว้าง 7.5 ซ.ม. สูง 21 ซ.ม.
แหล่งที่มา :
พิพิธภัณฑ์ของเล่นพื้นบ้านรุ่งอรุณทวีวัฒนา
วัสดุ :
ไม้ไผ่ เชือก
อายุ/ปีที่ผลิต :
2563
รายละเอียดชิ้นงาน

เทคนิคที่ใช้: การเจาะกระบอกไม้ไผ่ในลักษณะเฉียง เพื่อรับให้ลมเข้าในขณะลูกข่างหมุน

ขั้นตอนการสร้างสรรค์
    1. เตรียมไม้ไผ่ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4-6 ซ.ม. มาตัดให้เป็นท่อนกระบอกขนาดเล็กยาวประมาณ 6.5-7.5 ซ.ม. แล้วถึงตัดไม้เป็นแผ่นที่มีขนาดใหญ่กว่ากระบอกไม้ไผ่ หนาประมาณ 0.5 ซ.ม. แล้วทากางปิดหัวและท้ายกระบอกให้สนิท และเจาะรูให้ลมสามารถผ่านเข้าไปในกระบอกได้
    2. นำเสาลูกข่างมาใส่ จากด้านล่านไปด้านบน แล้วเจาะรูที่ตัวลูกข่างเพื่อให้เกิดเสียง กว้างประมาณ 0.5 ซ.ม. ยาวประมาณ 2.5 ซ.ม. และปาดเฉียงประมาณ 45 องศา
    3. แล้วจึงทำไม้ยิงลูกข่าง โดยเหลาไม้ขนาดเหมาะมือและเจาะรูสำหรับใส่เชือก ซึ่งมีความยาวประมาณ 50 ซ.ม.

ข้อมูลแหล่งที่มา
แหล่งเรียนรู้งานศิลปหัตถกรรมที่เกี่ยวข้อง
พิพิธภัณฑ์ของเล่นพื้นบ้านรุ่งอรุณทวีวัฒนา
ดูรายละเอียด