จักจั่น

กลุ่มงานศิลปหัตถกรรม ประเภทงานหัตถศิลป์ไทย

“จักจั่น” เป็นของเล่นพื้นบ้านที่มีลักษณะเป็นทรงกระบอกขนาดเล็กห้อยด้วยเชือกเส้นเล็ก มีอีกชื่อหนึ่งเรียกว่า “อ๊อดๆ” เป็นของเล่นพื้นบ้านที่เกิดจากการเลียนเสียงสัตว์ร้องตามธรรมชาติ เป็นของเล่นที่ผู้ใหญ่ทำให้เด็กเล่นเพื่อความเพลิดเพลิน

ประเภทงานหัตถกรรม :
เครื่องอื่นๆ
กลุ่มวัฒนธรรม :
จีน
ผู้สร้างสรรค์ :
ขนาด :
ตัวกระบอก กว้าง 2.5 ซ.ม.ยาว 3 ซ.ม. เชือกยาว 9 ซ.ม.ก้านไม้ไผ่ยาว 16 ซ.ม.
วัสดุ :
ดินเหนียว ยางสน เชือก ไม้ไผ่ กระดาษแข็ง
อายุ/ปีที่ผลิต :
2563
รายละเอียดชิ้นงาน

เทคนิคที่ใช้: เชือกที่หุ้มด้วยยางสน เมื่อเกิดการเสียดสีจากการหมุนทำให้เกิดเสียงคล้ายจักจั่น

ขั้นตอนการสร้างสรรค์
    1. นำดินเหนียวมาปั้นเป็นรูปทรงกระบอกกลวง แล้วนำมาตัดเป็นท่อนให้มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 ซ.ม. จากนั้นนำไปผึ่งแดดให้แห้ง
    2. นำกระดาษมาตัดเป็นรูปวงกลมให้ใหญ่กว่าขนาดของดินที่ตัดเป็นท่อนไว้เล็กน้อย แล้วจึงทากาวแป้งเปียกปิดทับด้านบนของก้อนดินเหนียว และเจาะรูตรงกลางกระดาษ
    3. เหลาไม้ไผ่ให้มีขนาดประมาณ 7-10 ซ.ม. โดยนำปลายไม้ด้านหนึ่งจุ่มยางสนเล็กน้อย นำเชือกเส้นเล็กด้านหนึ่งผูกติดกับปลายไม้ด้านที่จุ่มยางสนไว้ ผูกพอหลวมกันไม่ให้หลุด และใช้ปลายเชือกอีกด้านผูกเข้ากับเศษไม้ชิ้นเล็กลอดเข้าไปในรูกระดาษที่เจาะไว้ เพื่อใช้ขัดกันกับกระดาษไม่ให้หลุด
    4. จากนั้นใช้กระดาษสีสันต่าง ๆ ตกแต่งให้สวยงาม

ข้อมูลแหล่งที่มา