ว่าวจุฬา

กลุ่มงานศิลปหัตถกรรม ประเภทงานหัตถศิลป์ไทย

“ว่าวจุฬา” มีลักษณะคล้ายดาวห้าแฉก หัวว่าวเป็นยอดปลายแหลม ตัวว่าวมีปีกทั้งสองข้างคล้ายปีกนก และหางว่าวมีสองแฉกคล้ายหางปลา บริเวณกลางตัวว่าวปิดด้วยกระดาษวงกลมสีแดง โครงว่าวขึงด้วยกระดาษฟางลายจุดสีขาว

ประเภทงานหัตถกรรม :
เครื่องอื่นๆ
ผู้สร้างสรรค์ :
ขนาด :
กว้าง 32 ซ.ม. ยาว 45 ซ.ม.
แหล่งที่มา :
พิพิธภัณฑ์ของเล่นพื้นบ้านรุ่งอรุณทวีวัฒนา
วัสดุ :
กระดาษฟาง ไม้ไผ่ เชือกว่าว
อายุ/ปีที่ผลิต :
2563
รายละเอียดชิ้นงาน

เทคนิคที่ใช้: การดัดโครงไม้ไผ่ และติดกระดาษ

ขั้นตอนการสร้างสรรค์
    1. เตรียมขึ้นโครงว่าว นำไม้ไผ่มาเหลาให้เรียบเพื่อขึ้นโครงว่าว โดยไม้ไผ่ที่นิยมมาใช้ทำโครงว่าว คือ “ไผ่สีสุกแบบปล้องเรียวยาว” ซึ่งเรียกกันว่า “เพชรไม้” ประกอบด้วย
             • ไม้อก 1 อัน
             • ไม้ปีก 2 อัน และไม้ปีกที่สั้นกว่าไม้อก 1 กลม (กลม คือ ขนาดความโตของไม้อกส่วนที่โตที่สุดที่วัดโดยรอบ)
             • ไม้ขากบ 2 อัน และไม้ขากบที่ยาว 3/4 ของไม้ปีก
    2. แบ่งไม้ออกเป็น 4 ส่วน เท่า ๆ กัน บริเวณก่อนส่วนล่างของสุดของไม้อกเอาดินสอขีดกำหนดจุดสำหรับวางปีกล่าง และปีกบน วัดจากจากหัวถึงปีกล่างแล้วหาจุดกึ่งกลางแล้วลดลง 1 กลม เพื่อใช้เป็นจุดสำหรับผูกปีกบน
    3. จากนั้นผูกว่าวโดยการขึงด้ายเป็นตาราง เรียกว่า “การผูกสัก” สำหรับจุดที่ผูกขากบบนไม้อก ให้วัดระหว่างปีกบนกับปีกล่างของไม้อก หาจุดกึ่งกลางแล้วลดลง 1 กลม ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญมาก หากผูกสูงเกินไปจะทำให้ว่าวลอยไม่ขึ้น คนโบราณเรียกอาการนี้ว่า “อกจุก” จึงต้องลดลงให้ต่ำกว่าจุดกึ่งกลางเล็กน้อยประมาณ 1 กลม
    4. เมื่อผูกโครงว่าวเรียบร้อย ให้จับปลายปีกทั้งสองข้าง ซึ่งหัวและปลายว่าวจะต้องเป็นแนวราบเสมอกัน ถ้าหัวเชิดขึ้นต้องมีการถ่วงตะกั่ว ให้อยู่ในระดับเดียวกันก่อน จึงปิดกระดาษลงไป จากนั้นนำกระดาษฟางมาติดกับโครงว่าวด้วยกาวผูกคอซุง ซึ่งเป็นเชือกที่ผูกระหว่างอกว่าวใช้ผูกกับเชือกว่าเวลาชัก

ข้อมูลแหล่งที่มา
แหล่งเรียนรู้งานศิลปหัตถกรรมที่เกี่ยวข้อง
พิพิธภัณฑ์ของเล่นพื้นบ้านรุ่งอรุณทวีวัฒนา
ดูรายละเอียด