ว่าวงู

กลุ่มงานศิลปหัตถกรรม ประเภทงานหัตถศิลป์ไทย

ว่าวงู แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. ส่วนหัว : วาดเลียนแบบการแผ่แม่เบี้ยของงู เกล็ดด้านนอกลงสีแดง เกล็ดด้านในลงสีฟ้า ลิ้นลงสีชมพูบานเย็น ช่องปากลงสีเหลืองและสีเขียว ตัดเส้นขอบสีดำ
2. ส่วนลำตัว : กระดาษย่นสีชมพูบานเย็นลงลายจุดสีดำ ขนาดยาวเรียวหางแหลมคล้ายลำตัวของงู

ประเภทงานหัตถกรรม :
เครื่องอื่นๆ
ผู้สร้างสรรค์ :
ขนาด :
กว้าง 32 ซ.ม. ยาว 30 ซ.ม. (รวมหาง 340 ซ.ม.)
แหล่งที่มา :
พิพิธภัณฑ์ของเล่นพื้นบ้านรุ่งอรุณทวีวัฒนา
วัสดุ :
กระดาษฟาง ไม้ไผ่ เชือกว่าว
อายุ/ปีที่ผลิต :
2563
รายละเอียดชิ้นงาน

เทคนิคที่ใช้: การตกแต่งกระดาษที่มีน้ำหนักเบา และ การร้อยเชือกเพื่อพยุงว่าวให้ลอยติดลมบน

ขั้นตอนการสร้างสรรค์
    1. นำกระดาษสาหรือกระดาษฟางมาวางแบบสำหรับตัดรูปทรงของงู โดยนำมาพิมพ์ลายสำหรับร่างแบบหน้าของงูเพื่อระบายสีด้วยพู่กัน
    2. จากนั้นเตรียมขึ้นโครงว่าวนำไม้ไผ่แก่มาเหลาให้กลมเพื่อขึ้นโครงอกและโครงกระดูกหลัง
โดยใช้เชือกมัดให้เป็นรูปทรงคล้ายสี่เหลี่ยมคางหมู แต่ส่วนด้านบนเป็นเส้นโค้งคล้ายหัวงูแผ่แม่เบี้ย
เตรียมเม็ดโลหะเงินแท้เพื่อหลอมในเบ้าหลอมด้วยความร้อนสูง
    3. นำตัวว่าวกระดาษหน้างูมาติดเข้ากับโครงว่าวด้วยกาว แล้วจึงใช้เชือกไนล่อนผูกเป็นคอซุงสำหรับผูกเชือกว่าวที่ใช้ดึงตัวว่าว
    4. นำกระดาษย่นมาตัดเป็นหางว่าวงู แล้วติดประกบเข้ากับโครงว่าวด้านล่าง

ข้อมูลแหล่งที่มา
แหล่งเรียนรู้งานศิลปหัตถกรรมที่เกี่ยวข้อง
พิพิธภัณฑ์ของเล่นพื้นบ้านรุ่งอรุณทวีวัฒนา
ดูรายละเอียด