ผ้ายกเมืองนครลายดอกพิกุล

กลุ่มงานศิลปหัตถกรรม ประเภทงานหัตถศิลป์ไทย

ผ้ายกเมืองนครลายดอกพิกุล สีแดง  ทอยกดอกลายดอกพิกุลมีลักษณะเป็นดอกกลมๆ เล็ก ๆ  ทั้งผืน เป็นผ้าชิ้นที่สามารถนำไปตัดเป็นผ้าซิ่นหรือชุดไทย

ประเภทงานหัตถกรรม :
เครื่องทอ
ผู้สร้างสรรค์ :
ขนาด :
กว้าง 100 ซ.ม. ยาว 270 ซ.ม.
วัสดุ :
ผ้าฝ้ายเมอร์ซีไร (ฝ้ายขัดมัน)
อายุ/ปีที่ผลิต :
2563
รายละเอียดชิ้นงาน
  • ผ้ายกเมืองนครลายดอกพิกุล ทอด้วยกี่กระตุก  ใช้กรรมวิธีการทอให้เกิดลวดลายโดยการยกตะกอ แยกเส้นด้ายยืนขึ้นเป็นลวดลายเฉพาะ โดยการยกตะกอ ไม่ได้มีการเพิ่มเส้นด้ายยืนหรือเส้นได้พุ่งพิเศษเข้าไป การทอจะใช้ตะกอร่วมที่ออกแบบให้สามารถทอได้ทั้งลายขัดและลายยกดอกสลับกันไปในเนื้อผ้า
  • การทอผ้าด้วยวิธีการสร้างลวดลายยกดอกในเนื้อผ้าด้วยการใช้ตะกอร่วมกันตั้งแต่ 2 ตะกอขึ้นไป โดยการกำหนดให้ร้อยตะกอในช่วงถี่ห่างแตกต่างกันใน 1 รอบลาย เพื่อเปิดช่องเส้นยืนพุ่งกระสวยเส้นพุ่ง
  • การสร้างลวดลายในเนื้อผ้า เส้นยืนจะถูกกำหนดให้ยกข่มลงในจังหวะที่ทอเนื้อผ้าและลายผ้าพร้อมกัน เกิดจากการยกและข่มเส้นยืนในจังหวะที่แตกต่างกันในแนวหน้าผ้า ทำให้เส้นพุ่งสอดข้ามในช่องเส้นยืนที่เปิดแตกต่างจากโครงสร้างของลายขัดซึ่งเป็นลายพื้นฐาน ทำให้เกิดเป็นลายนูนขึ้นในบริเวณที่ไม่มีการขัดสานของเส้นยืนและเส้นพุ่ง ซึ่งตะกอร่วมจะถูกออกแบบให้ทอได้ทั้งลายขัดและลายยกดอกสลับกันไปตามจังหวะการยกและข่มตะกอบางแผง เมื่อสลับการเหยียบตะกอจะสร้างเนื้อผ้าและลายผ้าที่แตกต่างกันในจังหวะการทอเดียวได้
  • กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองนครศรีธรรมราชส่วนใหญ่จะทอ 4 ตะกอขึ้นไป ทำให้สามารถจับคู่ตะกอ 2 แผงหรือ 3 แผง ในการสร้างลวดลายยกดอกที่แตกต่างกันได้มากมาย เกิดเนื้อผ้าที่มีลายขัดอยู่ในตัว และยังทำให้เนื้อผ้ามีความแข็งแรงทนทานต่อการใช้งาน หากสังเกตดูเนื้อผ้าจะเห็นเป็นลายยกดอกแทรกอยู่ในเนื้อผ้าลายขัด แต่ลายยกดอกมีความนูนเด่นน้อยกว่าผ้ายกที่ทอด้วยการเพิ่มเส้นพุ่งพิเศษ เพราะการใช้สีของเส้นพุ่งและเส้นยืนที่แตกต่างกัน จะทำให้เกิดการทอผสมสีของลายขัด และลายยกดอกอยู่ในเนื้อผ้า
  • วิธีการใช้ตะกอร่วมสามารถประยุกต์ทอด้วยเครื่องกี่กระตุกได้ ทำให้ทอผ้าได้เร็ว และสามารถทำการตลาดได้ในกลุ่มผู้บริโภคจำนวนมาก
ข้อมูลแหล่งที่มา