แก้วเบญจรงค์ถมลายเงินพร้อมจานรอง เป็นการผสมผสานงานเบญจรงค์กับงานเครื่องถมเพื่อพัฒนา และต่อยอดผลิตภัณฑ์งานเครื่องถมกับงานหัตถกรรมแบบอื่น ๆ โดยได้นำแก้วเบญจรงค์มาออกแบบประยุกต์ให้เข้ากับเครื่องถม ประกอบด้วยจานรองแก้วสลักลายถมเงินเป็นลายดอกพุดตาน แก้วเบญจรงค์แบบมีหูจับ หูแก้วสีทอง ปากแก้วเป็นลายสีน้ำเงิน ฝาปิดเป็นงานแกะลายถมเงินเป็นลายดอกพุดตาน มีตัวล็อคจับติดกับหูแก้วเบญจรงค์
เทคนิคที่ใช้ : รีดแผ่นขึ้นรูป สลักลาย ถมเงิน
ขั้นตอนการผลิตเครื่องถมไทย
ขั้นแรก การทำน้ำยาถม : สำหรับน้ำยาถม มีวิธีทำคือ ขั้นแรกช่างถมจะต้องหลอมน้ำยา หรือที่ช่างถมเรียกกันว่า “กุม น้ำยา” ขึ้นก่อน ตัวยาถมมีส่วนผสมของโลหะ 3 ชนิด คือ ทองแดงบริสุทธิ์ 1 ตะกั่วอย่างดี 1 และเงินแท้อีก 1 นำโลหะทั้ง 3 อย่างมาผสมกันตามส่วนและสูตรของผู้สร้างสรรค์ นำไปใส่ในเบ้าหม้อที่มีฝาปิด ใส่ในเตาสูบ หลอมจนเนื้อโลหะผสมเข้ากันดี คือโลหะละลายเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน ใช้ความร้อนประมาณ 3 องศาเซลเซียส เป็นเวลาประมาณ 4 ชั่วโมงจนถึง 15 ชั่วโมง อัตราส่วนผสม และเวลาที่หลอมของช่างแต่ละคน จะแตกต่างไปตามสูตรลับ ที่เป็นมรดกตกทอด หรือได้จากตำราโบราณที่จะต้องตีความหมายเอาเอง เช่น “วัว 4 ม้า 6 บริสุทธิ์ 4 ผสมกันแล้วซัดด้วยกำมะถัน ได้ยาถมแล” เมื่อใช้เวลาหลอมพอสมควร แล้วเปิดฝาเบ้า ซัดด้วยน้ำกำมะถันเหลือง จนเห็นว่าน้ำยาขึ้นสีดำใส มีคุณสมบัติพิเศษ ไม่มีฟอง ไม่มีฝ้า แล้วจึงเทลงในเบ้าจาน ทิ้งไว้จนแห้ง รอการนำไปถมต่อไป ยาถมมีลักษณะแข็งสีดำเป็นนิลขึ้นเงามันเคลือบสีน้ำเงินอ่อนๆ เนื้อคล้ายโลหะชนิดหนึ่ง แต่ทุบบดให้ละเอียดเป็นผงได้ ทำเป็นแท่งๆ ไว้ ตามแท่งมีร่องยาวๆ ไม่ขาดตอน จึงนับว่าเป็นยาถมที่ดี มีจุดหลอมต่ำกว่าจุดหลอมตัวของเงินหรือทองแท่ง ยาถมนี้เมื่อเวลาจะใช้ต้องนำมาบดทุบให้ละเอียดก่อน แล้วคลุกด้วยน้ำประสานทอง จนเป็นน้ำยาถมสำหรับนำไปลงถม
ขั้นที่ 2 การทำรูปพรรณ : การทำรูปพรรณ คือ การนำแผ่นเงินมาทำเป็นรูปร่างตามต้องการ อาจเป็นภาชนะ เช่น ขันน้ำ พานใส่ของ หรือเครื่องประดับ เช่น กำไล เข็มกลัด ทรวดทรงจะงดงามเพียงไร อยู่ที่ฝีมือของช่างผู้ออกแบบให้เป็นรูปร่างอย่างไร
ขั้นที่ 3 การแกะสลักลวดลาย
ขั้นที่ 2 ขั้นหลอมโลหะ ถ้าเป็นงานขนาดเล็กๆ จะใช้จอกหลอม ถ้าเป็นงานขนาดใหญ่ ที่โลหะมีน้ำหนักตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป จะใช้เบ้าหลอม ใช้เตาถ่าน หรือใช้เตาไฟฟ้าก็ได้ แต่เตาไฟฟ้าหลอมได้สะดวกกว่า การหลอมจะดีหรือใช้ได้เพียงใดนั้น ใช้วิธีการสังเกตสีของโลหะว่า ละลายผสมเข้ากันดีหรือไม่ ในการหลอมต้องใช้น้ำประสานทองใส่ผสมลงไปในขณะหลอมด้วย และใช้ถ่านไฟคนหรือกวน ถ้าโลหะผสมกันดีแล้ว จะเป็นสีม่วง และผิวเรียบเกลี้ยงเป็นเงามัน แล้วเทลงราง ออกรูปเป็นแผ่นเงิน
ขั้นที่ 3 ขั้นขึ้นรูป การทำโลหะให้เป็นแผ่น ใช้พะเนิน (ค้อนใหญ่) หรือค้อน ทุบแผ่ด้วยแรงคน แล้วนำแผ่นเงินมาดัดหรือตีแผ่ให้เป็นรูปภาชนะต่างๆ หรือรูปพรรณต่างๆ ตามที่ต้องการ ให้มีความหนาพอสมควร ในขั้นนี้ต้องใช้เวลานานมากกว่าขั้นอื่นๆ เพราะโลหะแข็งมาก และใช้มือทำตลอด โดยเครื่องถมนครแท้จะเป็นการทำด้วยมือทั้งหมดไม่ใช้เครื่องจักรช่วยเลย
ขั้นที่ 4 ขั้นเขียนลาย เมื่อสร้างรูปพรรณต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ก็เขียนลวดลายตามต้องการลงไปบนภาชนะ หรือรูปพรรณนั้นๆ (ด้วยหมึกพิเศษ หรือหมึกจีน) หลักการเขียนลวดลายนั้น ใช้วิธีแบ่งส่วนทั้งซ้ายและขวาให้เท่าๆ กัน โดยใช้วงเวียนแบ่งเส้น แบ่งช่วง และแบ่งครึ่ง เขียนไปเรื่อยๆ เช่น แบ่ง 1 เป็น 2, แบ่ง 2 เป็น 4, แบ่ง 4 เป็น 8 ฯลฯ จนได้ลวดลายละเอียดตามความเหมาะสม
ขั้นที่ 5 ขั้นแกะสลักลาย ก่อนแกะสลักลาย ช่างจะทำความสะอาด และแต่งผิวรูปพรรณให้เรียบ แล้วใช้สิ่วแบบต่างๆ สลักลวดลายด้วยมือ ตอกเป็นรอยลึกลงไปตามลวดลายที่เขียนไว้ โดยไม่ให้ผิวโลหะหลุดออกเป็นชิ้น และสลักให้มีรอยนูนดุนออกไปอีกด้านหนึ่ง ส่วนที่สลักลวดลายนี้ เป็นพื้นที่ที่จะถูกเคลือบด้วยยาถมต่อไปจนเต็ม
ขั้นที่ 6 ขั้นเก็บผิวรูปพรรณ ในขั้นสลัก รูปทรง และผิวรูปพรรณ อาจจะมีตำหนิบ้าง เมื่อสลักเสร็จจึงต้องแต่งผิวให้เรียบร้อย แต่งทรงรูปพรรณให้ได้ศูนย์หรือสมดุลเหมือนเดิม จากนั้นก็ทำความสะอาดอีกครั้งหนึ่ง โดยขัดด้วยกรดอ่อนๆ ใช้กรดผสมกับน้ำ อัตราส่วน 1:4 ต้องขัดส่วนที่จะลงยาถมให้สะอาดเป็นพิเศษ ขัดจนขาวเป็นเงามัน ไม่มีคราบสีน้ำตาลเจือปนอยู่เลย
ขั้นที่ 7 ขั้นลงถม ต้องใช้น้ำยาถมที่เตรียมไว้แล้ว ละลายตัวด้วยความร้อนสูงพอสมควร โดยให้สังเกตว่าน้ำยาถมนั้น มีลักษณะเกือบแดง แล้วใช้น้ำยาถมที่ละลายแล้วนั้น แปะลงไปบนร่องลวดลายที่แกะสลักไว้ น้ำยาถมจะ “แล่น” (วิ่ง) หรือไหลไปตามร่องนั้น จนทั่ว โดยการใช้ไฟ “เป่า แล่น” การลงถมที่ดีนั้น ไม่ได้ลงครั้งเดียว ต้องลงถมถึง 2-4 ครั้ง ครั้งแรกลงแต่พอประมาณ
ขั้นที่ 8 ขั้นตกแต่งถม เมื่อลงยาถมกระจายเต็มลวดลายทั่วทุกส่วนดีแล้ว ก็ทิ้งรูปพรรณนั้นให้เย็น แต่ห้ามนำไปแช่น้ำ เพราะโลหะจะหดตัว และอาจจะแตกหรือถมหลุดออกเป็นชิ้นๆ ได้ เมื่อเย็นดีแล้ว ก็ใช้ตะไบถู หรือใช้เหล็กขูด แต่งยาถมที่ไหลเลอะบนส่วนที่ไม่ต้องการให้มียาถม ออกให้หมด แต่งผิวให้เรียบ ด้วยกระดาษทราย จนกระทั่งเห็นลวดลายหรือภาพปรากฏขึ้นชัดเจนดีหมดทุกส่วน และผิวของส่วนถมจะไม่มีรูพรุน หรือจุดที่เรียกว่า “ตา มด” ต้องมีถมอยู่เต็มสนิท ไม่มีช่องที่จะมองเห็นเนื้อโลหะพื้น ซึ่งเรียกว่า "พื้น ขึ้น"
ขั้นที่ 9 ขั้นปรับแต่งรูปทรง ในขณะที่ลงยาถมนั้น รูปพรรณ หรือภาชนะ ต้องถูกความร้อนสูงเผาอยู่เป็นเวลานานพอสมควร จนกว่าจะเสร็จจากการลงยาถมแต่ละครั้ง ดังนั้นรูปลักษณะของรูปพรรณอาจบิดเบี้ยว คดงอไปจากเดิมไม่มากก็น้อย ด้วยเหตุนี้เมื่อเสร็จจากการลงยาถมแล้ว ต้องมีการปรับแต่งรูปใหม่ ให้มีรูปลักษณะคืนสภาพเดิม
ขั้นที่ 10 ขั้นขัดผิวและแกะแร เมื่อปรับแต่งรูปแล้ว พื้นผิวยังคงหยาบกร้านและด้าน ต้องขัดผิวด้วยกระดาษทรายละเอียด และถูด้วยถ่านไม้เนื้ออ่อน จนผิวเกลี้ยง ขัดผิวอีกครั้งด้วยฝ้ายและยาขัดโลหะ ถ่านไม้ที่ใช้ถูเป็นถ่านไม้สุก คล้ายถ่านหุงข้าว แต่เนื้ออ่อน ส่วนมากต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ แต่ถ้าไม่มี ช่างจะใช้ถ่านไม้สนแทน เมื่อเกลี้ยงได้ที่แล้ว ก็ขัดผิวทั่วไปทั้งหมดด้วยเครื่องขัด และยาขัดโลหะอีกครั้งหนึ่ง แล้วล้างให้สะอาด เช็ดให้แห้ง หลังจากนั้นถึงขั้นการแกะแรลวดลาย หรือการแรเงาตกแต่งลวดลายให้สวยงาม เพราะลวดลายที่ปรากฏในขั้นที่กล่าวมาแล้วนี้ เป็นเพียงภาพโครงสร้างภายนอกเท่านั้น เป็นภาพที่หยาบๆ ไม่สมบูรณ์ หรือไม่มีรายละเอียดส่วนอื่นๆ ไม่มีเส้นตัดภายใน ให้เป็นลวดลายอ่อนช้อยสวยงาม จึงต้องเป็นงานฝีมือของ “ช่าง แกะแร” ทำหน้าที่สลักหรือแกะแรส่วนละเอียดของภาพต่างๆ ให้ปรากฏชัดเจนขึ้น ลวดลายจะอ่อนช้อยงดงามหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความชำนาญ และความประณีตของช่างประเภทนี้โดยเฉพาะ
ขั้นที่ 11 ขั้นขัดเงา หลังจากแกะแรแล้ว จึงนำรูปพรรณถมเข้าเครื่องขัด ด้วยยาขัดอย่างละเอียด แล้วล้างให้สะอาดเช็ดด้วยผ้านุ่มๆ ทำความสะอาดให้เป็นเงางาม ด้วยฝ้ายขัดเครื่องถม ด้วยยาขัดเงา ขัดด้วยมือ ก็ถือว่าสำเร็จเรียบร้อย