ลายมัดหมี่เป็นลายขอนาค ตลอดทั้งผืน หัวซิ่นเป็นผ้าไหมพื้นสีน้ำตาลทอง ตีนซิ่น เก็บขิดลายตวย หรือ กรวยเชิงด้วยดิ้นเงิน
เทคนิคที่ใช้ : มัดหมี่ ขิด(ยกตะกอเก็บลายขิด เสริมเส้นพุ่งพิเศษ ตลอดหน้าผ้า)
ซิ่นหมี่คั่นตีนตวยของแม่คำปุน ศรีใส “ผ้าซิ่นหมี่คั่น” หรือเรียกอีกในชื่อท้องถิ่นว่า “ผ้าซิ่นหมี่น้อย” เป็นรูปแบบผ้าซิ่นดั้งเดิมที่พบแพร่หลายทั้งสองฝั่งของลุ่มแม่น้ำโขง แต่ที่เมืองอุบลฯ แต่โบราณได้คิดสีสันและลวดลายขึ้นใหม่ โดยบางผืนมีการทอแทรกดิ้นเงินดิ้นทองบนผ้าไหมมัดหมี่ จากหลักฐานผ้าโบราณกล่าวได้ว่าลวดลายเอกลักษณ์ในส่วนตัวซิ่น ที่ชาวเมืองอุบลฯคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ ลายผาสาทเผิ่ง (ปราสาทผึ้ง) ลายขอนาค ลายจอนฟอน (ลายพังพอน) ลายคลองเอี้ย (ลายหยักคลื่น) สำหรับผ้าผืนนี้ มีการทอคั่นเป็นแถบดำ น้ำเงิน ม่วง แดง เหลือง บรรจุลายมัดหมี่เป็นลายขอนาคตลอดทั้งผืน ส่วนของตีนซิ่น เก็บขิดลายตวย หรือ กรวยเชิงด้วยดิ้นเงิน หัวซิ่นเป็นผ้าไหมพื้นสีน้ำตาลทอง
สถานที่