ซิ่นหมี่คั่นตีนตวยของแม่คำปุน ศรีใส “ผ้าซิ่นหมี่คั่น” หรือเรียกอีกในชื่อท้องถิ่นว่า “ผ้าซิ่นหมี่น้อย” เป็นรูปแบบผ้าซิ่นดั้งเดิมที่พบแพร่หลายในลุ่มแม่น้ำโขง โดยน่าจะมีวิวัฒนาการ “ต้นกำเนิด” ด้านเทคนิคการทอจากเวียงจันทน์ สปป.ลาว แต่เจ้านายเมืองอุบลฯ ได้คิดสีสันและลวดลายขึ้นใหม่ โดยบางผืนมีการทอแทรกดิ้นเงินดิ้นทองบนผ้าไหมมัดหมี่ จากการศึกษาตัวอย่างผ้าโบราณพบว่า “ลวดลายเอกลักษณ์” ในส่วนตัวซิ่น ที่ชาวเมืองอุบลฯ คิดสร้างสรรค์ลายมัดหมี่คั่นขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ ลายผาสาทเผิ่ง (ปราสาทผึ้ง) ดังที่ปรากฏบนผ้าผืนนี้ ส่วนตีนซิ่น เป็นลายตีนตวย ทอด้วยเทคนิคขิด หรือการเพิ่มเส้นพุ่งพิเศษ