หัวเรือเทพพิรุณทอง 88

กลุ่มงานศิลปหัตถกรรม ประเภทงานหัตถศิลป์ไทย

“หัวเรือเทพพิรุณทอง 88” มีรูปร่างลักษณะคล้ายหัวพญานาค สีที่ใช้มีเพียง 5 สี คือ สีดำ สีแดง สีขาว และสีหมากสุก(ส้ม) ไม้ที่นำมาแกะสลักคือ ไม้ทองหลาง มีคุณสมบัติ คือ น้ำหนักเบา โดยตัดให้ได้ขนาด จากนั้นวาดลวดลายด้วยถ่านลงบนไม้ และใช้สิ่วจรดลงไปแกะสลักตามลายเส้นที่วาดไว้ ประกอบด้วย จมูก เขี้ยวหมา เขี้ยวแต เขี้ยวย่อย เขี้ยวฟอง ลูกตา คาง แก้ม หู รูจมูก เหงือกใน และภายในปากที่อ้าอวดเขี้ยวขาว งอนโง้ง นิยมแขวนกระดิ่งเพื่อให้เกิดเสียงเมืองเรือขยับ หรือวิ่งแล่นไปตามลำน้ำ จะได้ยินเสียงกระดิ่งดังอยู่ตลอดเวลา ส่วนคางใต้ปากลงมาแขวนพู่ระย้าประดับกระจก ลูกปัด ดอกไม้ห้อย ประดับไว้อย่างสวยงาม

ประเภทงานหัตถกรรม :
เครื่องไม้
กลุ่มวัฒนธรรม :
น่าน
วัสดุ :
ไม้ทองหลาง
อายุ/ปีที่ผลิต :
2562
รายละเอียดชิ้นงาน

วัสดุและอุปกรณ์

  1. สิ่ว
  2. ไม้ทองหลาง
  3. สี

ขั้นตอนการสร้างสรรค์งาน

  1. วาดลายตามแบบที่ร่างไว้ในสมุดลงแผ่นไม้ (สมัยก่อนใช้ถ่านหุงข้าววาดลวดลาย ปัจจุบันใช้วิธีวาดลายลงบนกระดาษ แล้วทาบลายลงบนแผ่นไม้) ไม้ที่นิยมนำมาแกะสลักหัวโอ้ (หัวเรือ) และหางวรรณ นิยมใช้ไม้ตอง หรือ ไม้ทองหลางเพราะเป็นไม้เนื้อเหนียว น้ำหนักเบา แกะลายง่าย และทนทาน
  2. แกะสลักด้วยสิ่วตามลวดลายของแบบที่ร่าง จนได้หัวเรือ หรือ หัวโอ้ ตามที่ต้องการที่มีรูปร่าง ลักษณะคล้ายหัวพญานาค
  3. ส่วนคอต้องเจาะทะลุไปจนถึงปากพญานาค (ซึ่งเป็นส่วนที่ยากและสำคัญ)
  4. แกะสลักส่วนหางของเรือ หรือ หางวรรณ ที่มีลักษณะคล้ายหางพญานาค
  5. ตกแต่งลวดลายในส่วน หัวเรือ และหางเรือ และทาสีให้สมบูรณ์ สีที่ใช้จะใช้ สีดำ สีแดง สีหมากสุก (ส้ม) สีเขียว สีเหลือง สีขาว และต้องระบายเอกลักษณ์ของสีนั้น ๆ ไม่ใช้การไล่ระดับโทนส
ข้อมูลแหล่งที่มา