คันฉ่อง

กลุ่มงานศิลปหัตถกรรม ประเภทงานหัตถศิลป์ไทย

ขาค้ำยันด้านหน้าของคันฉ่องทั้ง 2 ข้าง สลักดุน เป็นรูปพญานาคชูศีรษะและทอดลำตัวขึ้นไปตอนบนของกระจก การสลักดุนเป็นรูปพญานาคนั้น ที่สำคัญก็เพราะ รัชกาลที่ 6 เสด็จพระราชสมภพในปีมะโรง ซึ่งมีความหมายถึงงูใหญ่ หรือพญานาค

ประเภทงานหัตถกรรม :
เครื่องโลหะ
กลุ่มวัฒนธรรม :
ช่างสลักดุน สกุลช่างจีน ภาคกลาง
วัสดุ :
โลหะเงิน ปะการัง ไม้จีถาน หนังปลากระเบน
อายุ/ปีที่ผลิต :
2468
องค์ความรู้ :
รายละเอียดชิ้นงาน

คันฉ่อง เป็นคำเรียกเครื่องใช้ที่ใช้ส่องหน้าแบบหนึ่งที่ตั้งบนโต๊ะเครื่องแป้ง มักมีลักษณะมีขอบไม้โดยรอบ องค์ประกอบของคันฉ่องบานนี้ จากคำบอกเล่าของผู้เป็นเจ้าของกล่าวว่าเป็นของใช้ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ในเวลาเสด็จพระราชดำเนินทรงงานต่างจังหวัด

แหล่งที่มา : กรุงเทพมหานคร (สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นฝีมือช่าง จาก ประเทศจีน หรือประเทศญี่ปุ่น เพราะใช้วัสดุที่มีราคาสูงมาก และหายาก ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก และไม่เป็นที่นิยมใช้ในประเทศไทย)

ข้อมูลแหล่งที่มา