กล่องเครื่องประดับ

กลุ่มงานศิลปหัตถกรรม ประเภทงานหัตถศิลป์ไทย

“กล่องเครื่องประดับ” ได้รับการสร้างสรรค์ด้วยเทคนิคเครื่องรักประกอบด้วยลวดลายก้านขดผักกูด ลายก้านขดดอกพุดตาล และภาพช้างนูน

ประเภทงานหัตถกรรม :
เครื่องรัก
วัสดุ :
ไม้ไผ่สานหรือตลับไม้มะม่วงกลึง ยางรัก ดินสอพอง สมุกแกลบ กระดาษทราย
อายุ/ปีที่ผลิต :
2562
รายละเอียดชิ้นงาน

เทคนิคที่ใช้ : การทำเครื่องรัก
ขั้นตอนการสร้างสรรค์ชิ้นงาน

  1. ขึ้นรูปชิ้นงานด้วยการใช้ไม้ไผ่ขดหรือไม้มะม่วงกลึง จากนั้นนำมาขัดผิวด้วยกระดาษทรายให้เรียบเพื่อทำพื้นและอบให้แห้งสนิทเพื่อป้องกันมอด
  2. นำชิ้นงานมาถมสมุก (สมุก คือการนำดินสอพอง หรือดินนาเพราะจะมีความเหนียว สมุกแกลบบดหรือตำให้ละเอียด ผ่านการกรองแล้วนำมาผสมกับน้ำยางรัก คนให้เข้ากัน) แล้วนำไปทาที่ชิ้นงาน รอให้แห้ง ซึ่งในขั้นตอนนี้ต้องใช้เวลา 2-3 วัน จากนั้นจึงมาขัดด้วยกระดาษทราย และทิ้งไว้อีก 3 วัน
  3. ใช้รักกลางทาพื้นให้ทั่วทั้งด้านในและด้านนอก แล้วนำไปให้ตากแห้ง อาจต้องใช้เวลาระยะเวลาประมา 1 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ หากมีความชื้นสูงชิ้นงานจะแห้งค่อนข้างเร็ว และเมื่อชึ้นงานแห้งดีแล้วให้ทารักกลางซ้ำอีกครั้งจนครบ 3 รอบ
  4. นำชิ้นงานที่ทารักเรียบร้อยแล้วไปขัดอีก 1 รอบ ด้วยกระดาษทรายเบอร์ละเอียด ล้างน้ำ ทิ้งไว้ให้แห้ง จากนั้นจึงทารักเงา เพื่อเตรียมสำหรับทำลวดลาย
    ในขั้นตอนนี้ต้องรอให้รักแข็งตัว ใช้ระยะเวลา 6-7 วัน หากรักยังไม่แห้งไม้สามารถลงลายได้
  5. เมืื่อได้ชิ้นงานที่แห้งดีแล้วจึงนำไปทำลวดลาย โดยวิธี ขูด การเพ้นท์ การลงรักปิดทองหรือการติดเปลือกไข่
ข้อมูลแหล่งที่มา