“กริชรามันห์ หัวนกพังกะ” กริชถือเป็นเอกลักษณ์ที่บ่งบอกถึงตระกูลของกริช โดยกริชรามันห์นิยมทำเป็น หัวนกพังกะ หรือที่รู้จักกันในชื่อ นกกระเต็น มีลักษณะหัวโต มีจมูกงอนยาว ปากแสยะจนเห็นไรฟัน หรือเขี้ยวชัดเจน แบ่งเป็นหัวกริชแบบตัวผู้ คือ หัวนกพังกะที่มีเครา และแบบตัวเมีย ที่ไม่มีเครา ไม้ที่นำมาทำหัวกริชเป็นไม้เนื้อแข็งที่หาได้ง่ายภายในท้องถิ่น เช่น ไม้ตาลดำ ไม้แก้ว ไม้มะเกลือ ไม้มะม่วง เป็นต้น ส่วนการทำฝักกริช นิยมใช้ไม้มะม่วง ไม้มะเกลือ หรือไม้ชนิดอื่น ๆ ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น โดยใช้เทคนิคพิเศษ คือ เลือกไม้ทั้งชิ้นเจาะรูให้พอดีกับใบมีด จะทำให้ด้ามฝักไม่เกิดเป็นรอยต่อและมีความเรียบเนียนเสมอกันตลอดทั้งด้าม
เทคนิคที่ใช้ : การขึ้นรูปโลหะ และการแกะสลักหัวกริชรูปหัวนกพังกะ